การวางตำแหน่งทางเข้าน้ำพลาสติก(ตอน3)

ทางเข้าน้ำโมพลาสติก

ในโมพลาสติกเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าผิวของคาวิตี้ จะมีผลต่อความเรียบ,ความเงา,และการผิดรูปของชิ้นงาน (เกิดได้หาcoreมีผิวหยาบ) นอกจากนี้แล้วในการออกแบบ runner และ gate ควรให้แน่ใจว่าน้ำพลาสติกไม่พุ่งเป็นลำเข้าไปในคาวิตี้เมื่อไหลมาจนถึงคาวิตี้ ซึ่งกว้างออกหักมุมกับทิศทางการไหล น้ำพลาสติกควรกระทบกับผนังหรือผิวอื่นของแม่พิมพ์ ดังแสดงในภาพด้านล่าง เพื่อป้องกันการเกิด jetting ควรระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่า ส่วนของผนังคาวิตี้ที่ต่อจาก gate จะมีน้ำพลาสติกท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอในทิศทางการไหล

รูปแบบ lateral film gate และแบบ Pin gate หลายจุด

รูปแบบ lateral film gate และแบบ Pin gate หลายจุด

ถ้าการเพิ่มอุณหภูิมิแม่พิมพ์ใช้ไม่ได้ผล ในการขจัดปัญหาเรื่องการเกิดผิวเหมือนน้ำแข็ง (Frost) เส้นคล้ายตัวหนอน และบริเวณที่มีผิวด้าน ก็จะแก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้ โดยต่อ runner ออกไปจนเป็นส่วนที่ดักเศษพลาสติก (cold slug well) อยู่ถัดจาก gate ทำหน้าที่เก็บเศษพลาสติกแข็งเป็นชั้นรอบนอกของ runner ที่ถูกชะหลุดออกมา บางครั้งการลดอัตราการฉีด ก็สามารถแก้ปัญหาได้เช่นกัน

แม่พิมพ์สองคาวิตี้มักจะใช้ lateral film gate ส่วนที่เป็น runner และ film gate จะวางตัวในแนว parting line หากใช้กับแม่พิมพ์คาวิตี้เดียว การวางตำแหน่งคาวิตี้จะไม่สมมาตร ซึ่งเป็นสาเหตุให้ถูกดันอ้าออกในระหว่างการฉีดพลาสติก ในแม่พิมพ์คาวิตี้เดียวที่ใช้ hot runner สามารถออกแบบให้วางตำแหน่งคาวิตี้อย่างสมมาตรกับแกนกระบอกฉีดของเครื่องฉีดพลาสติก จึงใช้เครื่องฉีดที่มีแรงประกบไม่มากเกินไป น้ำพลาสติกจะเข้า lateral film gate โดยผ่านทาง hot runner แม่พิมพ์ชนิดนี้เป็นแบบที่ใช้กันโดยทั่วไป

Social tagging: >

Comments are closed.