เวลาในการหล่อเย็น ( Cooling Time)
การหล่อเย็นเริ่มต้นเมื่อฉีดพลาสติกเต็มแม่พิมพ์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา ti ความร้อนส่วนใหญ่จะถ่ายเทออกไปในช่วงเวลาหล่อเย็น tc คือเวลาหลังจากการฉีด จนถึงการปิดแม่พิมพ์และปลดชิ้นงาน การออกแบบระบบหล่อเย็น จะขึ้นอยู่กับส่วนของชิ้นงานที่ต้องหล่อเย็นเป็นเวลานานที่สุด ให้เย็นลงจนถึงอุณหภูมิปลดชิ้นงาน TE
การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างพลาสติกและสารหล่อเย็น เกิดขึ้นโดยการนำความร้อนในแม่พิมพ์ การนำความร้อนสามารถอธิบายได้ด้วย Fourier’s differential equation โดยใช้การคำนวณแบบ 1มิติก็พอ เพราะชิ้นงานฉีดพลาสติกมักจะใช้การแก้ปัญหาใน2มิติและถ่ายเทความร้อนออกในหนึ่งทิศทาง
ในกรณีของการถ่ายเทความร้อนแบบหนึ่งมิติ Fourier’s differential equation สามารถลดรูปได้เป็น
สัญลักษณ์ในสมการต่างๆเป็นดังนี้
a = การแพร่กระจายของความร้อน (ตร.ม/วินาที)
(ตร.ม/วินาที)
t = เวลา(วินาที)
tc = เวลาในการหล่อเย็น(วินาที)
S = ความหนาของผนัง (ม.หรือ1000 มม.)
x = ระยะทาง (ม. หรือ 1000มม.)
= ความหนาแน่นของพลาสติก (กก/ลบ.ซม.)
k = การนำความร้อน (วัตต์/ม.k)
Cp =ความจุความร้อนจำเพาะ (จูล/กก.k)
TE = อุณหภูมิปลดชิ้นงาน (oC)
TEmax = อุณหภูมิปลดชิ้นงานสูงสุด (oC)
TEmean = อุณหภูมิปลดชิ้นงานเฉลี่ย (oC)
TM = อุณหภูมิน้ำพลาสติก (oC)
TW = อุณหภูมิผนังคาวิตี้ (oC)
อัตราการหล่อเย็น
FO = Fourier number
สมมติว่าทันทีที่พลาสติกฉีดเสร็จ อุณหภูมิน้ำพลาสติกในคาวิตี้จะคงที่ทุกแห่ง คือ f(x),อุณหภูมิที่ผนังคาวิตี้สูงถึงค่าคงที่ Tw = f (tc) และไม่เปลี่ยนแปลงดังนี้
เป็นคำตอบหนึ่งของ differential equation ถ้าพิจารณาเฉพาะจำนวนแรกของอนุกรม คือ
จะได้
หรือหาคำตอบในรูปของเวลาการหล่อเย็น
จัดรูปสมการใหม่เป็น
จะได้ตัวแปรไร้มิติของการหล่อเย็น (ตามภาพด้านบน)
ซี่งเรียกว่าอัตราส่วนอุณหภูมิเกิน และใช้แทนอัตราการหล่อเย็นได้
คือ Fourier number ซึ่งไม่มีหน่วย
ถ้า = ค่าคงที่ อัตราส่วนการหล่อเย็นจะเท่าเดิม อัตราส่วนการหล่อเย็นที่ต่างกันสามารถแสดงโดยกราฟที่มี่หน่วย ตามภาพด้านบน
ถึงแม้การฉีดพลาสติกไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่ต้องการได้อย่างแน่นอน แต่จากประสบการณ์ก็สามารถคำนวณเวลาจากการหล่อเย็นได้แม่นยำเพียงพอ ในการฉีดเทอร์โมพลาสติกจะปลดชิ้นงานที่อัตราส่วนอุณหภูมิเท่าเดิมเสมอ นั่นคือ ด้วยอัตราการหล่อเย็นเท่าเดิม ดังนั้น จึงหาค่าเฉลี่ยของการแพร่กระจายความร้อน (a) และการแพร่กระจายความร้อนประสิทธิผล (aeff) ได้ สมการที่ใช้แทนการแพร่กระจายความร้อนจะไม่แน่นอน โดยเฉพาะกับโครงสร้างพลาสติกเป็นระเบียบ
Social tagging: การหล่อเย็นแม่พิมพ์ > เทอร์โมพลาสติก