แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกแบบต่างๆ

ถ้าแบ่งประเภทของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกตามลักษณะการทำงานของแม่พิมพ์ เราสามารถแบ่งออกได้หลากหลายประเภท วันนี้ admin จะเขียนบทความของ แม่พิมพ์แบบทั่วๆไป (2Plate) การทำงานจะดูได้จากภาพนี้

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก,2 plate mold

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก,2 plate mold

จากภาพด้านบนบริเวณที่เป็นสีเทาคือ แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ตัวเม็ดพลาสติก(สีม่วง)จะถูกป้อนลงมาสู่กระบอกสูบของเครื่องฉีด เม็ดพลาสติกจะถูกป้ิอนให้เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยสกรู(สีเขียว) ตัวกระบอกสูบของเครื่องฉีดพลาสติก จะถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อให้พลาสติกหลอมเหลวได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อเม็ดพลาสติกเลื่อนมาจนถึงด้านปลายของสกรู(ซ้ายมือภาพ) พลาสติกจะถูกหลอมเหลวจนกลายสภาพเป็นของเหลว ในเวลาเดียวกันสกรูจะถอยกลับเืพื่อให้ภายในกระบอกมีปริมาตรพลาสติกเพียงพอที่จะเติมเต็มช่องว่างภายในแม่พิมพ์พลาสติก

เมื่อปริมาตรของพลาสติกหลอมเหลวได้ตามจำนวนที่ตั้งไว้ตัวสกรูจะดันกลับมาเพื่อสร้างแรงดัน ดันพลาสติกหลอมเหลวเข้าไปในโพรงแบบของแม่พิมพ์ อากาศภายในจะถูกแทนที่ด้วยพลาสติกหลอมเหลว ตัวพลาสติกหลอมเหลวนั้นมีความหนืดสูง (ความหนืดจะขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติก) การที่จะดันพลาสติกหลอมเหลวที่มีความหนืดสูงให้ไหลผ่านช่องว่างเล็กๆในโพรงแม่พิมพ์อาจต้องใช้แรงดันสูงถึง 600-1800bar (แรงดันของลมยางรถยนต์อยู่ที่ประมาณ 2.2 bar) ดังนั้นตัวแม่พิมพ์พลาสติกจะต้องถูกออกแบบมาอย่างดี เพราะนอกจากจะต้องรับแรงดันที่สูงมากในการขึ้นรูปแล้ว ยังต้องรับภาระทางความร้อนจากพลาสติกหลอมเหลว (160-280องศาเซลเซียสขึ้นกับชนิดของพลาสติก)

แม่พิมพ์พลาสติกจะต้องถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อยอมให้อากาศสามารถไหลออกได้สะดวกแต่ตัวเนื้อพลาสติกหลอมเหลวจะไม่สามารถไหลออกไปได้ ระยะที่ถูกต้องจะส่งผลให้คุณภาพของชิ้นงานที่ได้สวยงาม,มันเงา,ขอบไม่คม ระยะห่างที่เหมาะสมควรอยู่ที่ไม่เกิน 25 ไมโครเมตร (1ไมโครเมตร =1/1000มิลลิเมตร) การที่จะตัดเฉือนเหล็กกล้าสำหรับแม่พิมพ์เพื่อให้ได้ระยะห่างที่เหมาะสมเป็นงานที่ต้องใช้เวลาและต้องใช้เครื่องจักรที่มีความแม่นยำสูง บางครั้งชิ้นงานเล็กๆขนาดเพียงเท่าเหรียญบาท อาจต้องขึ้นเครื่องจักรถึง 4 เครื่อง นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำไมแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกจึงมีราคาสูง

Social tagging: >

Comments are closed.