จากบทความเรื่องของ แม่พิมพ์พลาสติก ที่เคยนำเสนอไปหลายวันก่อน วันนี้ admin จะมาเพิ่มเติม เรื่องของทางเข้าพลาสติกอีกแบบที่ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะนิยมใช้กันมาก ช่างทำแม่พิมพ์พลาสติกส่วนใหญ่จะเรียกระบบนี้ว่า แม่พิมพ์แบบ3plate หรือ แม่พิมพ์แบบเข็ม สำหรับระบบนี้จะแตกต่างจาก 2plate คือ จะต้องมีแผ่นแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งแผ่นเพื่อเป็นทางวิ่งของน้ำพลาสติกหลอมเหลว ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่เป็นระบบปลดทางวิ่งของน้ำพลาสติกด้วย เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการฉีดในหนึ่งรอบการฉีด
ขออธิบายลักษณะการทำงานของแม่พิมพ์ชนิดนี้ คือจากภาพที่ 1ส่วนบนสุดคือแกนหัวฉีด (sprue) จะทำหน้าที่รับน้ำพลาสติหลอมเหลวจากเครื่องฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์ เมื่อน้ำพลาสติกไหลผ่านตัว sprue จะเข้าสู่ main runner ซึ่งจะเป็นทางวิ่งที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้แล้ว
สำหรับท่อทางวิ่งของน้ำพลาสติกนี้ ผู้ออกแบบแม่พิมพ์พลาสติกที่ดีต้องคำนึงถึงอัตราการไหลของพลาสติกด้วย ในกรณีที่แม่พิมพ์มีเพียงหลุมเดียว( cavity) อาจยังไม่เห็นความจำเป็น หากแม่พิมพ์มีจำนวนชิ้นงานหลายชิ้น (ดังภาพที่ 1) ผู้ออกแบบแม่พิมพ์ต้องทำการคำนวณให้ดี เพราะหากไม่มีการคำนวณที่ถูกต้อง ชิ้นงานที่อยู่ไกลจากตัว sprue จะมีโอกาสที่จะฉีดไม่เต็ม หรือหากฉีดได้เต็ม เมื่อนำชิ้นงานทั้งหมดมาชั่งน้ำหนัก จะพบว่าน้ำหนักชิ้นงานที่ฉีดมาพร้อมๆกันนั้นมีน้ำหนักไม่เท่ากัน เนื่องจากไม่มีการ balance runner
ตามคุณลักษณะของของไหล เมื่อมีการไหลจะเกิดแรงต้านที่บริเวณท่อทางวิ่งของน้ำพลาสติก (runner) ยิ่งมีระยะทางมากเท่าใดก็จะเกิดแรงต้านมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนั้นในขณะที่พลาสติกไหลผ่านท่อทางวิ่ง ก็จะสูญเสียความร้อนไปตลอดเวลา เมื่อพลาสติกเริ่มเย็นตัวก็จะยิ่งเป็นอุปสรรคในการฉีดมากยิ่งขึ้น ดังนั้นหากผู้ออกแบบแม่พิมพ์ไม่คำนึงถึงในจุดนี้ เมื่อทำการฉีดพลาสติก ในส่วนที่ทางวิ่งสั้นที่สุดจะเต็มก่อน ส่วนที่อยู่ไกลออกไปเนื้อพลาสติกจะไม่เต็ม หรือหากได้ชิ้นงานเต็ม ผิวของตัวชิ้นงานก็อาจจะไม่สวยงาม
ท่อทางวิ่งของน้ำพลาสติกเราสามารถคำนวณหาอัตราการไหลได้โดยขึ้นอยู่การขนาดของพื้นที่หน้าตัดของรูปทรง โดยปกติผู้ออกแบบแม่พิมพ์ส่วนใหญ่จะใช้ทางวิ่งแบบ ครึ่งวงกลม,วงกลม,4เหลี่ยมคางหมู ขึ้นอยู่กับการชนิดของพลาสติกและการออกแบบแม่พิมพ์
ภาพที่ 3 แสดงถึงพื้นที่สำหรับรูปทรงในแบบต่างๆ ในการออกแบบต้องคำนึงถึงการตัดเฉือนวัสดุเพื่อสร้างแม่พิมพ์,น้ำหนักโดยรวมของทางวิ่งทั้งหมด รวมถึงการปลดท่อทางวิ่งด้วย
จากภาพที่4 หากดูภาพบนซ้ายมือ จะเห็นได้ว่าหากออกแบบแม่พิมพ์ในลักษณะตามภาพอาจจะสามารถประหยัดเหล็กสำหรับทำแม่พิมพ์ลงได้ ทำให้ค่าแม่พิมพ์ถูกลง แต่ถ้ามองในเรื่องการฉีด หากออกแบบในลักษณะดังกล่าว เมื่อฉีดชิ้นงาน1 shotจะได้ชิ้นงานทั้งหมด 4ชิ้น แต่น้ำหนักของทางวิ่งอาจมากกว่าน้ำหนักของชิ้นงาน ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าสูงขึ้นตามไปด้วย
Social tagging: ฉีดพลาสติก > แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก > แม่พิมพ์พลาสติก