การต่อพลาสติกแบบใช้ตัวประสาน Adhesive Bonding

จากบทความก่อนเรื่อง การต่อพลาสติก ในหัวข้อนี้ admin จะมาพูดถึงการต่อโดยใช้ตัวประสานช่วย ซึ่งมีรูปแบบการใช้งานที่น่าสนใจ และสะดวกในการใช้งานด้วย แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับชนิดพลาสติกที่ใช้ และรูปร่างของชิ้นงาน ที่ผู้ออกแบบ แม่พิมพ์พลาสติก จะเป็นผู้พิจารณาให้เหมาะสมกับวิธีการทำงาน

การใช้ตัวประสาน สำหรับการต่อชิ้นส่วนพลาสติกเข้าด้วยกัน แตกต่างจากการใช้น้ำยาเคมีคือ จะมีองค์ประกอบอื่น เป็นสารช่วยให้ชิ้นส่วนกับน้ำยาเคมีประสานกันได้ สารเคมีที่ช่วยยึดนี้เรียกว่าตัวประสาน (Adhesive) ซึ่งสามารถประสานพลาสติกเข้ากับพลาสติก (ไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุชนิดเดียวกัน) โลหะ,ยาง,เซรามิค,แก้ว,ไม้ หรือผิวของวัสดุอื่นได้

ตัวประสานที่ใช้ในการยึดพลาสติก
ตัวประสานที่ใช้ในการยึดพลาสติก

ตัวประสานที่นิยมใช้สำหรับเทอร์โมพลาสติก คือ อีพอกซี,Acrylics,Polyurethane,Phenolic,Polyester,Vinyl,ยาง และอื่นๆอีกหลายชนิด ขึ้นกับชนิดของพลาสติกที่จะต่อ แต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือ Cyanoacrylate เนื่องจากประสานกับวัสดุอื่นได้เร็ว

โดยสามารถขอคำแนะนำเกี่ยวกับตัวประสานแต่ละชนิดได้จากผู้ผลิตพลาสติกและผู้จำหน่ายตัวประสาน อย่างไรก็ตาม ผู้ออกแบบต้องทดลองใช้กับการต่อชิ้นส่วน ภายใต้การใช้งานจริงด้วย ตัวประสานบางชนิดจะใช้น้ำยาที่ช่วยละลายผิวบางสวนของพลาสติก ทำให้ประสานติดแน่นขึ้น แต่ต้องตรวจดูว่าเข้ากันได้กับพลาสติกหรือไม่ เพราะตัวประสานบางชนิดจะกัดเนื้อพลาสติก และนำไปสู่การชำรุดและเสียหายของชิ้นส่วนพลาสติกที่ต่อกัน

พื้นผิวที่เหมาะสมในการยึดติดด้วยวิธีการประสาน
พื้นผิวที่เหมาะสมในการยึดติดด้วยวิธีการประสาน

ข้อเสียของการใช้ตัวประสานคือ ได้ผลช้า ใช้เวลาในการประกอบนาน มักต้องใช้อุปกรณ์จับยึด และในบางกรณีจะต้องอบหรือทิ้งไว้จนรอยต่ออยู่ตัว นอกจากนี้ยังต้องเตรียมผิวที่จะต่อกันให้สะอาด ถ้ามีสิ่งสกปรก เช่น น้ำมัน ,จารบี ,สารหล่อลื่น หรือแม้แต่รอยนิ้วมือติดอยู่บนผิว ก็ทำให้การประสานนั้นหลุดออกได้ เมื่อต้องการให้การประสานนั้นได้ผลดี จะต้องขูดผิวให้หยาบหรือกัดด้วยกรด เพื่อให้ตัวประสานเกาะติดบนผิวได้แน่นยิ่งขึ้น

Social tagging: > > > > > > > >

Comments are closed.