การหล่อเย็นแม่พิมพ์พลาสติกแบบง่าย
แม่พิมพ์พลาสติกต้องรับภาระความเค้นที่เกิดจากอุณหภูมิ Thermal stress อยู่ตลอดเวลา ในรอบการฉีดอุณหภูมิพลาสติกหลอมเหลวอาจสูงถึง180-250อสศาเซลเซียส(ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิหลอมเหลวของพลาสติกแต่ละชนิด) หากไม่มีระบบหล่อเย็นในแม่พิมพ์พลาสติก จะทำให้เกิดความร้อนสะสมภายในแม่พิมพ์ ซึ่งจะส่งผลให้ชิ้นงานมีรอบการฉีด(cycle time) ที่นานขึ้น และชิ้นงานที่ฉีดออกมาจะไม่ได้ขนาด (ไม่สามารถคุมขนาดได้) ในบางครั้งหากอุณหภูมิสูงเกินไป ก็จะทำให้คุณสมบัติทางกลของพลาสติกเสียไปด้วย
ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงอุณหภูมิของแม่พิมพ์ที่ใช้ในการผลิต โดยอุณหภูมิของแม่พิมพ์นั้นจะถูกควบคุมโดยใช้สารหล่อเย็น หรือทั่วๆไปมักจะใช้น้ำเป็นตัวหล่อเย็น โดยที่แม่พิมพ์จะทำการเจาะรูไว้เพื่อให้น้ำไหลเวียนถึงกัน เพื่อเป็นวงจรของระบบหล่อเย็น วงจรนี้อาจเป็นแบบชั้นเดียวหรือหลายชั้นก็ได้ จำนวนชั้นจะขึ้นอยู่กับความหนาของแผ่นแม่พิมพ์ แต่เนื่องจากระบบวงจรหล่อเย็นของแม่พิมพ์มีหลากหลายรูปแบบและแต่ละแบบมีความแตกต่างกัน ในบทความนี้ขออธิบายแบบที่ง่ายและไม่ซับซ้อนมากก่อน และแบบนี้ร้านที่รับทำแม่พิมพ์ส่วนใหญ่จะใช้กัน
การหล่อเย็นแม่พิมพ์แบบวงจรตัวยู
แบบนี้จะเป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากทำงานง่ายระบบไม่ยุ่งยาก ใช้งานทนทานไม่ต้องดูบำรุงรักษาอะไรมากนัก แบบนี้แผ่นแม่พิมพ์ที่ประกอบด้วยเบ้าคาวิตี้ วิธีเจาะรูท่อหล่อเย็นจะง่ายที่สุด คือ เจาะยาวทะลุตลอดทั้งสองข้างของแม่พิมพ์พลาสติก ส่วนด้านปลายจะต่อท่ออ่อนถึงกัน ท่อทางน้ำเข้าและออกจะใส่ข้อต่อเอาไว้ อย่างไรก็ดีสำหรับระบบนี้จะมีข้อเสียคือมักจะเกิดการรั่วที่ท่ออ่อน หรืออาจเป็นเพระาท่ออ่อนเสียหายหรือหมดสภาพ ทำให้ผู้ออกแบบจึงคิดวิธีใหม่
การหล่อเย็นแม่พิมพ์วงจรตัวยูแบบใช้แผ่นปิด
แบบนี้จะถูกพัฒาให้ดีขึ้นกว่าแบบใช้ท่ออ่อน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการรั่วซึมจึงทำการฝังแผ่นปิดไว้ในตัวแม่พิมพ์เพื่อให้น้ำหล่อเย็นไหลถึงกันได้ ที่ขอบของแผ่นปิดจะมีซีลเพื่อกันน้ำรั่ว สำหรับแบบนี้จะดูเรียบร้อยกว่าแบบแรก และหมดปัญหาการรั่วซึมของน้ำหล่อเย็น แต่ก็ยังมีข้อเสียคือ เมื่อเทียบกับแบบแรก การใช้แผ่นปิดนี้จะทำให้ผู้ปฎิบัติงานทำงานยากขึ้นเนื่องจากต้องนำชิ้นงานขึ้นเครื่องจักรเพิ่มขึ้น เพื่อขุดฝังแผ่นปิดนี้ จะทำให้แม่พิมพ์มีราคาสูงขึ้น
การหล่อเย็นแม่พิมพ์วงจรตัวยูแบบแผ่นปิดด้านนอก
แบบนี้เป็นการพัฒนามาจากแบบแผ่นปิดด้านใน มีลักษณะคล้านคลึงกับแบบแผ่นปิดด้านใน แต่จะเว้นช่องที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างรูทางไหลทั้งสองจะกัดเซาะไว้บนแผ่นต่อ และขันยึดเข้ากับผิวด้านนอกของแม่พิมพ์โดยตรงด้วยสกรู สำหรับวิธีนี้จะมีราคาถูกกว่า แต่มีข้อเสียคือจะทำให้การติดตั้งแม่พิมพ์กระทำได้ไม่สะดวกและอาจเกิดการรั่วไหลของสารหล่อเย็นได้
Social tagging: หล่อเย็นแม่พิมพ์ > แม่พิมพ์