การไหลของน้ำพลาสติกในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

การไหลของน้ำพลาสติกในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

กระบวนการไหลของพลาสติกหลอมเหลวในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกนั้น เป็นเรื่องที่ซับซ้อน โดยปัจจัยทางด้านผนังคาวิตี้ของแม่พิมพ์ ซึ่งเย็นกว่าจุดที่น้ำพลาสติกแข็งตัว เมื่อน้ำพลาสติกเข้าสู่คาวิตี้ ผิวนอกของพลาสติกจะสัมผัสกับผิวคาวิตี้ที่เย็นกว่า จนกลายเป็นพลาสติกแข็งไปในทันที ขณะที่แกนกลางของพลาสติกยังคงหลอมเหลวอยู่ พลาสติกที่ฉีดตามเข้าไป จะไหลอยู่ในแกนกลางนี้ โดยดันพลาสติกที่อยู่บริเวณนั้นให้ไหลออกไป เกิดเป็นส่วนหน้าของการไหลขึ้นมาใหม่ การไหลของพลาสติกที่ถูกดันไปนี้ เป็นการผสมกันระหว่างการไหลไปข้างหน้า กับการไหลออกข้างนอก ส่วนที่ไหลออกข้างนอก จะสัมผัสกับผนังคาวิตี้จนแข็งตัว และกลายเป็นทางพลาสติกใหม่ที่ไหลเข้ามาตามช่องที่มีผนังเป็นพลาสติกแข็ง

แสดงภาพตัดของท่อทางวิ่งพลาสติก ในขณะที่พลาสติกไหลเข้าสู่คาวิตี้

แสดงภาพตัดของท่อทางวิ่งพลาสติก ในขณะที่พลาสติกไหลเข้าสู่คาวิตี้

น้ำพลาสติกจะไหลเต็มคาวิตี้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงานที่ฉีด ระยะทางที่น้ำพลาสติกไหลและตัวแปรในการฉีด คือ อุณหภูมิของน้ำพลาสติกและแม่พิมพ์ วิธีการที่ใช้กันมากในการออกแบบ คือ อัตราส่วนเส้นทางการไหล ( Flow path ratio) ซึ่งเป็นอัตราส่วนของระยะทางการไหลกับความหนาของช่องทางไหล โดยมีข้อกำหนดว่า ถ้า Flow path ratio มากกว่าอัตราส่วนระหว่างความยาวต่อความหนาหน้าตัดแล้ว การไหลของน้ำพลาสติกจะเต็มแม่พิมพ์ ความยาวของการไหล คือ ระยะทางวัดจากรูเข้า ( Gate) ของน้ำพลาสติก ไปถึงจุดที่ห่างที่สุดในคาวิตี้ ส่วนความหนาของช่องทางการไหลอาจมีผลต่ออัตราส่วนนี้อยู่บ้าง แต่ชิ้นงานฉีดพลาสติกมักมีความหนาไม่แตกต่างกันมากนัก สิ่งที่นำมาพิจารณา ก็คืออุณหภูมิของน้ำพลาสติกในช่วงที่มีค่าสูง จะฉีดโดยที่มี Flow path ratio สูง อัตราส่วนนี้ สามารถใช้เป็นแนวทางเกี่ยวกับความสามารถในการฉีดแม่พิมพ์ สำหรับนักออกแบบและช่างฉีดพลาสติกได้

 

Social tagging: > >

Comments are closed.