Finite Element ในงานแม่พิมพ์

การใช้ไฟไนต์เอลิเมนต์ช่วยวิเคราะห์การฉีดพลาสติก



ช่างแม่พิมพ์ในอดีตเมื่อต้องทำการออกแบบแม่พิมพ์ที่เป็นลักษณะ Family Mold หากชิ้นงานที่อยู่ภายในแม่พิมพ์ตัวเดียวกันมีความหนาบางของชิ้นงานไม่เท่ากัน เมื่อทำการฉีดพลาสติก มักจะเกิดปัญหาตามมา เช่น ความหนาแน่นของชิ้นงานแต่ละตัวไม่เท่ากัน,ชิ้นงานที่ไหลสะดวกกว่าจะเต็มก่อน  ทำให้ผู้ออกแบบแม่พิมพ์ มักจะกำหนดให้ทางเข้าน้ำพลาสติก มีขนาดเล็กไว้ก่อน จากนั้นเมื่อทำการปรับฉีด จึงค่อยๆขยายทางเข้าให้ใหญ่ขึ้น วิธีนี้สามารถใช้ได้ดี แต่ติดขัดเรื่องของเวลาที่ใช้ในการทดลอง และต้องทำการ ถอด-ติดตั้ง แม่พิมพ์บนเครื่องฉีดหลายครั้ง สูญเสียทั้งค่าแรงงานและเวลาที่ใช้ในการฉีด ในอดีตการแข่งขันทางการค้ายังไม่สูงเท่าปัจจุบันทำให้ยังพอที่จะใช้วิธีดังกล่าวได้ แต่ในปัจจุบันนี้ค่าแรงงานช่างฝีมือสูงขึ้นมาก หากใช้วิธีข้างต้นอาจต้องใช้เวลาหลายวันจึงจะเสร็จสิ้นกระบวนการ

ในเทคโนโลยีการผลิตรูปแบบใหม่ เราสามารถ simulation เพื่อดูแนวโน้มในการออกแบบของเรา ก่อนที่จะทำงานจริงได้ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขแม่พิมพ์ และยังช่วยร่นระยะเวลาในการผลิตแม่พิมพ์อีกด้วย

จากบทความตอนที่แล้ว ทาง Admin ได้ทำการจำลองการฉีดพลาสติกในแม่พิมพ์แบบ Family Mold จำนวน 2 คาวิตี้ ซึ่งชิ้นงานแต่ละชิ้นมีน้ำหนักไม่เท่ากัน จากการวิเคราะห์ทำให้ทราบได้ว่า หากออกแบบให้ทางเข้าน้ำพลาสติกมีขนาดเท่ากัน ด้านที่มีความหนาของเนื้อพลาสติกมากกว่าจะถูกเติมเต็มก่อน จึงได้ทำการปรับลดพื้นที่หน้าตัดของทางเข้าน้ำพลาสติกในส่วนที่ชิ้นงานมีความหนา และได้ขยายพื้นที่หน้าตัดของทางเข้าน้ำพลาติกในชิ้นงานด้านบาง

วิเคราะห์การฉีดพลาสติก

วิเคราะห์การฉีดพลาสติก

หลังจากปรับลด-ขยาย ช่องทางเข้าน้ำพลาสติกแล้ว ทำให้เวลาที่ใช้ในการฉีดพลาสติกเข้าสูุ่แม่พิมพ์ทั้ง2 คาวิตี้ สามารถเติมเต็มได้พร้อมกัน ประโยชน์ที่ได้รับคือ ผู้ออกแบบลดเวลาในการ Try-Out แม่พิมพ์ ส่วนเจ้าของผลิตภัณท์ก็ได้ชิ้นงานที่สมบูรณ์มากขึ้น และลดค่าใช้จ่ายในการทดสอบแม่พิมพ์ลงได้

Social tagging: >

Comments are closed.