Archives for admin

ฉีดพลาสติก

เครื่องฉีดพลาสติก


ในการทำงานฉีดพลาสติกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทอร์โมพลาสติกนั้น มีบริษัทที่ผลิตเครื่องฉีดพลาสติกออกมามากมายหลายแบบ ซึ่งไม่สามารถจะนำเอาแต่ละแบบมาแสดงในที่นี้ได้ ในหลักการแล้วเครื่องฉีดพลาสติกทั้งหลายจะแตกต่างกันเฉพาะรูปร่าง วัสดุที่ใช้ ระบบส่งกำลัง และระบบควบคุม ส่วนจุดมุ่งหมายในการนำมาใช้นั้นคล้ายคลึงกันมาก เครื่องฉีดพลาสติกแบ่งตามลักษณะของทิศทางการฉีดได้ 4 แบบ (ตามภาพด้านล่าง)

แบบที่มีใช้มากที่สุดก็คือแบบ A โดยชุดฉีด และหน่วยเปิด-ปิดแบบอยู่ในทิศทางเดียวกัน

ลักษณะเครื่องฉีดพลาสติกแบ่งตามทิศทางการฉีด

ลักษณะเครื่องฉีดพลาสติกแบ่งตามทิศทางการฉีด

เครื่องฉีดแบบแนวดิ่งแบบ C และ D โดยปกติจะออกแบบไว้สำหรับ Read More

การใช้ 3D Printer สร้างต้นแบบแม่พิมพ์พลาสติก

How to Make Injection Mould with 3D Printer



ขั้นตอนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก ต้องอาศัยเครื่องจักรหลากหลายชนิด เพื่อขึ้นรูปโลหะให้ตรงตามแบบทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกมีราคาสูง และ เมื่อได้ทำการตัดเฉือนโลหะไปแล้วหากมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขแบบชิ้นงาน อาจต้องทำการขึ้นรูปใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากและค่าใช้จ่ายจะสูงมาก

ในปัจจุจบันได้มีการนำเครื่อง 3D Printer มาใช้ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกสำหรับชิ้นงานต้นแบบ ซึ่งลดเวลาในการผลิตแม่พิมพ์ลงได้เป็นอย่างดี ทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกลดลง

การใช้ 3D Printer ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่1 แสดงรูปแบบชิ้นงานและการวางตำแหน่งแม่พิมพ์

เริ่มต้นจากการออกแบบชิ้นงานและ insert ของแม่พิมพ์พลาสติก จากนั้นจึงทำโปรแกรมสั่ง 3D Printer เพื่อยิงชิ้นงาน insert แม่พิมพ์ต้นแบบขึ้นมา Read More

การปลดชิ้นงานในแม่พิมพ์แบบ Slide Core

แม่พิมพ์พลาสติก แบบ Slide Core



การออกแบบแม่พิมพ์พลาสติก ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงขั้นตอนในการเข้าน้ำพลาสติก และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือการปลดชิ้นงาน รูปแบบชิ้นงานพลาสติกบางประเภทสามารถออกแบบให้เปิดแม่พิมพ์ และปลดชิ้นงานได้แบบปกติ แต่ในบางครั้งด้วยรูปทรงที่ถูกจำกัด ทำให้ผู้ออกแบบไม่สามารถหลีกเลี่ยงการทำแม่พิมพ์แบบ Slide Core ได้

การออกแบบ Slide Core ต้องมีความแข็งแรงเพียงพอ เพราะในจังหวะที่น้ำพลาสติกเติมเต็มเข้าสู่โพรงแม่แบบ พลาสติกที่เย็นตัวจะหดรัดตัว Slide Core หากระบบปลดออกแบบมาไม่ดีพอ อาจส่งผลให้ไม่สามารถปลดชิ้นงานได้ ผู้ออกแบบส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องใช้ระบบไฮดรอลิค เพื่อปลด Slide Core แต่ระบบไฮดรอลิคค่อนข้างยุ่งยากและเป็นอุปสรรคในการต่อสายน้ำมันเข้ากับเครื่องฉีดพลาสติก

รูปร่างชิ้นงานบางแบบผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้ระบบ Pneumatic แทนได้ แต่ต้องคำนึงถึงแรงที่ใช้ในการปลดชิ้นงานเพื่อเลือกใช้กระบอกลมให้ถูกต้อง การออกแบบแม่พิมพ์พลาสติกให้ปลดด้วยระบบลมนั้น ในบางกรณีจะสะดวกกับผู้ปฎิบัติงานมากกว่าระบบไฮดรอลิค

แม่พิมพ์พลาสติกกระทุ้งสองขั้นตอน(แบบที่2)

แม่พิมพ์พลาสติกแบบกระทุ้ง2ขั้นตอน (แบบที่2) Double Stage Ejection (part 2)



ในบทความตอนที่แล้ว ได้อธิบายถึงการออกแบบระบบปลดชิ้นงานแบบ 2 ขั้นตอน ในทางทฤษฏีวิธีการดังกล่าวสามารถใช้งานได้ แต่ในการฉีดพลาสติกจริงๆอาจมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ หากสปริงยุบตัวเร็วเกินไป เข็มกระทุ้งที่ค่อนข้างบางจะกระทุ้งที่ชิ้นงานก่อน ซึ่งอาจทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายได้ ในทางปฏิบัติจริงเราสมควรที่จะออกแบบการปลดชิ้นงานในลักษณะนี้จะเหมาะสมกว่า

แม่พิมพ์พลาสติกแบบกระทุ้ง2ขั้นตอน

แม่พิมพ์พลาสติกแบบกระทุ้ง2ขั้นตอน

แม่พิมพ์พลาสติกแบบนี้ระบบปลดชิ้นงานจะมีกระเดื่องประกอบรวมอยู่กับชุดกระทุ้ง ระหว่างที่แม่พิมพ์เปิด ชิ้นงานจะถูกปลดออกจากแม่พิมพ์ฝั่งตัวผู้โดยแผ่นปลด (Stripper Plate) แขนที่สั้นกว่าของกระเดื่องที่อยู่ในช่องของ Spacer Block จะเป็นจุดหมุนดันให้แขนอีกข้างยกแผ่นกระทุ้ง เข็มกระทุ้งจึงสามารถกระทุ้งชิ้นงานหลุดออกจากแม่พิมพ์ได้ในที่สุด การออกแบบในลักษณะนี้จะเป็นการป้องกันไม่ให้เข็มกระทุ้งดันชิ้นงานก่อนที่ชิ้นงานจะถูกปลดออกจากแม่พิมพ์ฝั่งตัวผู้

แม่แบบพลาสติกกระทุ้งสองขั้นตอน

แม่พิมพ์พลาสติกกระทุ้ง2ชั้น Double Stage Ejection



ชิ้นงานพลาสติกที่มีขนาดใหญ่แต่มีผนังบาง มักจะต้องออกแบบวิธีการปลดหลายขั้นตอน โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถวางเข็มกระทุ้งให้ดันส่วนผนังข้างหรือโครง ซึ่งเป็นส่วนที่แข็งแรงพอจะรับแรงกระทุ้งโดยไม่ทำให้ชิ้นงานเสียหาย จากภาพตัวอย่างด้านล่างชิ้นงานลักษณะนี้จะไม่สามารถกระทุ้งที่ผนังชิ้นงานได้โดยตรง

double-stage-ejection

double-stage-ejection


ในกรณีนี้ต้องออกแบบระบบปลดชิ้นงานแบบสองขั้นตอน ชิ้นงานจะถูกแกะออกจากคอร์ก่อน ในระหว่างเปิดแม่พิมพ์โดยใช้แผ่น Stripper สปริงที่อยู่ในชุดกระทุ้งจะต้องแข็งแรงเพียงพอที่จะไม่ยุบตัวในขั้นตอนนี้ ทันทีที่แผ่นกระทุ้งชนกับแผ่นยึดคอร์ สปริงจะถูกอัดให้ยุบตัว ทำให้เข็มกระทุ้งดันชิ้นงานหลุดออกจากแผ่น Stripper ทำให้สามารถปลดชิ้นงานได้อย่างสมบูรณ์

การฉีดพลาสติกแบบแรงดันอัด Injection Pressing

Injection Pressing เทคนิคการฉีดพลาสติกโดยใช้แรงอัด



ฉีดพลาสติกแรงอัด

ฉีดพลาสติกแรงอัด


ในการฉีดพลาสติกขนาดใหญ่ บางครั้งเครื่องฉีดที่ใช้มีแรงฉีดและแรงประกบไม่เพียงพอ อาจทำได้ด้วยการลดแรงประกบแม่พิมพ์ในตอนแรกของกระบวนการฉีดพลาสติก และยังไม่ต้องใช้แรงดันฉีดที่สูงมากนัก ในทันทีที่น้ำพลาสติกหลอมเหลวถูกฉีดเข้าไปเติมเต็มในแม่พิมพ์ แม่พิมพ์จะถูกอัดเข้าด้วยแรงกระแทกอีกครั้ง ซึ่งเทคนิคนี้ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในประเทศเยอรมัน แม่พิมพ์สำหรับใช้กับเทคนิคนี้จะต้องถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ คือจะต้องมีระยะเพื่อให้แม่พิมพ์เลื่อนชิดกันได้ และเส้นแบ่งแม่พิมพ์ (Parting Line) จะต้องไม่ชิดกัน

วิธีการนี้นอกจากใช้กับชิ้นงานที่มีพื้นที่มากๆแล้ว ยังสามารถใช้กับงานทั่วๆไป และจะทำให้แรงดันประกบบนผิวงาน มีความสม่ำเสมอเท่ากันทั้งชิ้นงาน ทำให้ได้ชิ้นงานที่ไม่มีความเค้นตกค้าง

แม่พิมพ์ขนม,แม่พิมพ์สบู่,แม่พิมพ์ที่ใช้กับอาหาร

แม่พิมพ์ขนม,แม่พิมพ์สบู่,แม่พิมพ์ที่ใช้กับอาหาร



ในการผลิตบางประเภท แม่พิมพ์ที่ใช้ขึ้นรูปอาจต้องสัมผัสกับอาหารโดยตรง ควรเลือกใช้วัสดุที่เป็น food grade และในอาหารบางประเภทอาจต้องใช้อุณหภูมิที่สูงเพื่อปรุงสุกหรือฆ่าเชื้อ ทำให้วัสดุที่ใช้ผลิตแม่พิมพ์ต้องสามารถรองรับในจุดนี้ด้วย

แม่พิมพ์ขนม2

แม่พิมพ์ขนม2

แม่พิมพ์ขนม

แม่พิมพ์ขนม

แม่พิมพ์ที่ฝั่งตัวผู้สามารถยุบได้ Collapsible Core

แม่พิมพ์ที่ฝั่งตัวผู้สามารถยุบได้ Collapsible Core



แม่พิมพ์แบบนี้โดยมากจะใช้กับชิ้นงานขนาดเล็ก ในกรณีที่ชิ้นงานมีเกลียวด้านใน เราสามารถออกแบบให้คอร์เป็นแกนเหล็กหุ้มปลายด้วยยางซิลิกอน ซึ่งทำเป็นเกลียวนอก ถ้าแม่พิมพ์ปิดยางจะถูกอัดเข้าไปในคาวิตี้ ทั้งสองส่วนจะประกอบกันจนได้รูปคอร์ที่มีเกลียวถูกต้อง เมื่อแม่พิมพ์เปิดแกนเหล็กจะเลื่อนถอยกลับ ยางซิลิกอนยุบตัวลงทำให้ปลดชิ้นงานออกจากคอร์ได้ แม่พิมพ์แบบนี้จะมีราคาถูกกว่าแบบที่มีอุปกรณ์คลายเกลียว ยางซิลิกอนมีอายุการใช้งานไม่นานนัก แต่มีราคาไม่แพง และถอดเปลี่ยนได้ง่าย อย่างไรก็ตาม คอร์แบบนี้จะเกิดปัญหาในการหล่อเย็นและต้องใช้รอบการฉีดที่นานกว่า อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการใช้ คือไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดรอยที่ชิ้นงานหากใช้คอร์ที่ยุบตัว และไม่เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการความแม่นยำิเช่นเฟืองตัวหนอน

คอร์แบบยุบตัวได้

คอร์แบบยุบตัวได้

ตัวยางซิลิกอนเมื่อใช้งานไปสักระยะจะเกิดการสึกหรอ ยางจะเสียรูปจนใช้งานไม่ได้ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในงานที่ควบคุมขนาด แต่สำหรับการฉีดชิ้นงานจำนวนน้อย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ

แม่พิมพ์แบบคาวิตี้แยก

แม่พิมพ์แบบคาวิตี้แยก Spilt Cavity Mould



รูปแบบของชิ้นงานพลาสติกบางประเภท จำเป็นต้องออกแบบแม่พิมพ์พลาสติกให้ผนังด้านข้างทั้งหมดของคาวิตี้เลื่อนออก เพื่อปลดชิ้นงานออกจากคอร์ การออกแบบในลักษณะนี้ จำเป็นต้องใช้แม่พิมพ์คาวิตี้แยก หรือบางครั้งเรียกว่าแม่พิมพ์แบบแยก Spilt Mould ตัวอย่างเช่น กล่องที่ด้านนอกของผนังด้านข้างมีโครงและช่อง ดังเช่นกรณีของแม่พิมพ์ฉีดลังบรรจุขวด หากแรงประกบแม่พิมพ์ของเครื่องฉีดพลาสติกนั้นไม่เพียงพอ การออกแบบแม่พิมพ์แบบนี้จะช่วยให้แรงประกบแม่พิมพ์ในส่วนที่ต้องการ

แม่พิมพ์พลาสติกแบบคาวิตี้แยก

แม่พิมพ์พลาสติกแบบคาวิตี้แยก

ภาพด้านบนแสดงขั้นตอนการทำงานของแม่พิมพ์แบบแยก ตัวเลื่อนรูปลิ่มจะถูกล็อคด้วยโครง ซึ่งต้องมีขนาดพอที่จะทนต่อแรงดันในคาวิตี้ได้ โดยไม่ถ่างออก มิฉะนั้นจะเกิดครีบแลบขึ้น ตัวเลื่อนจะถูกนำเลื่อนไปตามร่อง T หรือร่องหางเหยี่ยว ความเอียงของตัวล็อคประมาณ 10-15 องศา ซึ่งจะใช้ได้ผลดีในทางปฏิบัติ มุมที่เล็กกว่านี้อาจนำไปสู่การอัดตัวเนื่องจากแรงประกบ หากมุมใหญ่เกินไปแรงประกบจะไม่พอ การล็อคเกิดจากแม่พิมพ์ส่วนที่อยู่ตรงกันข้าม ซึ่งสามารถทำเป็นผิวเอียงรับส่วนตัวเลื่อนที่ Read More

เกลียวพลาสติกด้านข้าง

การปลดเกลียวพลาสติกด้านข้าง



ในงานออกแบบชิ้นส่วนพลาสติก ผู้ออกแบบโดยมากมักจะออกแบบให้ชิ้นงานพลาสติกสามารถผลิตได้โดยง่าย ทั้งในส่วนของแม่พิมพ์ที่ใช้ผลิต และกระบวนการฉีดชิ้นส่วนพลาสติก เนื่องจากหากชิ้นส่วนพลาสติกมีความซับซ้อนมาก จะทำให้ราคาแม่พิมพ์สูงขึ้น และยังต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างแม่พิมพ์ที่นานขึ้นตามไปด้วย หลังจากได้แม่พิมพ์ เมื่อนำไปทำการผลิตชิ้นงานพลาสติก ระยะเวลาฉีดสำหรับชิ้นงานพลาสติกที่ซับซ้อนมักจะนานกว่า ทำให้ราคาฉีดสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกแบบชิ้นส่วนพลาสติกที่ซับซ้อนได้ ก็จำเป็นต้องสร้างแม่พิมพ์เพื่อให้สามารถผลิตได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

การทำเกลียวในชิ้นส่วนพลาสติกเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เนื่องจากทิศทางในการเปิดแม่พิมพ์มีทิศทางเดียว แต่การปลดเกลียว(ในกรณีนี้พูดถึงการทำเกลียวใน) จำเป็นต้องใช้การเคลื่อนที่ 2 ทิศทาง(การหมุนและการเคลื่อนที่ตามแนวแกน)  ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จึงต้องจัดทำระบบกลไก เพื่อให้เกิดการหมุนและเลื่อนไปตามแนวแกนพร้อมกันในขณะที่ทำการเปิดแม่พิมพ์ ตามภาพด้านบน เมื่อแม่พิมพ์เปิดจะมีแกนเลื่อนเพื่อเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เป็นแนวนอน Read More