XP Mold

โรงงานผู้ผลิตแม่พิมพ์พลาสติก ,รับฉีดพลาสติก,เป่าพลาสติก ,ขึ้นรูปพลาสติก ทุกชนิด รวมถึงงานปั๊มโลหะ คุยง่ายได้งานไว รับงานไม่เกี่ยงจำนวน (ชิ้นเดียวก็ทำ)

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

รับทำแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก
Read More
แม่พิมพ์เป่าพลาสติก

แม่พิมพ์เป่าพลาสติก

รับทำแม่พิมพ์เป่าพลาสติก เป่าลูกโป่ง เป่า prform เป่าแกลลอน
Read More
แม่พิมพ์แวคคั่ม

แม่พิมพ์แวคคั่ม

รับทำแม่พิมพ์vacuumforming ,Pressureforming งานแม่พิมพ์ตัด Punch-Die Cutting
Read More
ฉีดพลาสติก

ฉีดพลาสติก

รับฉีดพลาสติก,เป่าพลาสติก ,งานแวคคั่มพลาสติก
Read More

การใช้ FEA เพื่อช่วย Balance runner

การสมดุลทางวิ่งแม่พิมพ์พลาสติก



ในการทำแม่พิมพ์พลาสติกที่ดี ควรจะต้องออกแบบให้สามารถฉีดชิ้นงานได้ง่ายและชิ้นงานที่ได้ออกมามีความสมบูรณ์ การออกแบบให้คาวิตี้เป็นรูปร่างสมมาตรเป็นสิ่งสำคัญ จะส่งผลให้แม่พิมพ์ฉีดได้ง่ายและไม่เกิดการบิดตัวของโครงสร้างแม่พิมพ์ ซึ่งจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เครื่องฉีดมีปัญหาได้ เนื่องจากการไหลเพื่อเติมเต็มของน้ำพลาสติกต่างกัน ในแม่พิมพ์แบบ Family Mold บางครั้งมีความจำเป็นที่จำต้องออกแบบให้ชิ้นงานที่มีความแตกต่างเรื่องความหนามาอยู่ด้วยกัน พลาสติกหลอมเหลวถือเป็นของไหลชนิดหนึ่ง ตามธรรมชาติของของไหลจะเข้าเติมเต็มส่วนที่ไหลได้ง่ายก่อน ในกรณีที่ทางวิ่งและรูเข้าน้ำพลาสติกมีขนาดเท่ากัน ในคาวิตี้ที่ชิ้นงานหนากว่าพลาสติกจะเข้าเติมเต็มได้เร็วกว่า ส่งผลให้ด้านคาวิตี้ที่บางกว่าชิ้นงานยังไม่เต็ม ผู้ปรับฉีดก็มักจะเพิ่มแรงดันฉีดมากขึ้นเพื่อหวังจะให้พลาสติกเข้าไปเติมเต็ม หากแรงดันฉีดที่ใช้ในการฉีดยังมีไม่มากพอที่จะเอาชนะแรงปิดแม่พิมพ์ชิ้นงานก็จะสามารถฉีดออกมาได้ แต่ความหนาแน่นของชิ้นงานทั้งสองจะไม่เท่ากัน ในทางกลับกันหากเพิ่มแรงดันฉีดมากขึ้น จนแรงดันฉีดเอาชนะแรงปิดแม่พิมพ์ได้ เนื้อพลาสติกก็จะแลบออกมาทางด้านข้างของชิ้นงาน

ในอดีตปัญหาดังกล่าวต้องอาศัยช่างที่ชำนาญงานในการปรับแก้ไขทางน้ำพลาสติกเพื่อให้ น้ำพลาสติกสามารถเติมเต็มเข้าสู่คาวิตี้ได้พร้อมกัน ซึ่งบางครั้งก็อาศัยประสบการณ์เพียงอย่างเดียว ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการทดลองแม่พิมพ์เป็นจำนวนมาก

Filling-Animation

การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์การไหลของพลาสติก

ในปัจจุบันได้มีการใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการผลิตมากขึ้นส่งผลให้ ผู้ออกแบบแม่พิมพ์สามารถทราบได้ล่วงหน้า และทำการออกแบบเพื่อลดปัญหาดังกล่าวลงได้ อย่างไรก็ดีการใช้ FEAเพื่อช่วยในการผลิต ยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นๆเข้ามาทำการวิเคราะห์ด้วย เพื่อให้เกิดการทำนายที่แม่นยำที่สุด

การวิเคราะห์และประเมินค่าของแรงและการเสียรูปในแม่พิมพ์พลาสติก

การเสียรูปของแม่พิมพ์พลาสติกและการเสียรูปของเครื่องฉีดพลาสติก



การประเมินการเสียรูปที่ยอมให้มีได้ สามารถใช้หลักการพืนฐานของแม่พิมพ์แบบง่ายๆ แม่พิมพ์แบบนี้ประกอบด้วยคาวีตี้ ผิวของแม่พิมพ์ทั้งสองส่วน และฐานของแม่พิมพ์ ก่อนอื่นคาวิตี้ต้องมีพิกัดความเผื่อตามที่ชิ้นงานต้องการ ซึ่งจะรวมการเสียรูปจากการหดตัวของพลาสติกด้วย อย่างไรก็ตาม การเสียรูปที่ยังคงอยู่ เมื่อชิ้นงานมีรูปร่างในขั้นสุดท้ายเท่านั้น ที่จะมีผลต่อชิ้นงานและแม่พิมพ์ แรงกดจะน้อยกว่าแรงดันตามตำแหน่งเดียวกันในคาวิตี้ ถ้าคาวิตี้ประกอบด้วยหลายชิ้นส่วน เพราะต้องการให้ขึ้นรูปง่าย หรือระบายอากาศ ควรหาการเสียรูปจากแรงดันภายในสูงสุด เพื่อให้ชิ้นส่วนต่างๆของแม่พิมพ์เข้ากันได้สนิท ที่บริเวณ gateก็เช่นกัน ผู้ออกแบบยังควรแยกให้ชัด ระหว่างทิศทางการปลดชิ้นงานและทิศทางขวางการปลดชิ้นงาน

การเสียรูปในแนวขวางทิศทางการปลดชิ้นงาน ไม่เพียงแต่มีผลกับขนาดชิ้นงานเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกัน จะมีผลต่อการทำงานของแม่พิมพ์ด้วย เมื่อแรงดันฉีดหรือแรงดันตามทำให้ผนังของคาวิตี้เสียรูปมากเกินไป ในทิศทางตั้งฉากกับการปลดชิ้นงาน จนไม่สามารถคืนรูปเดิมได้ เนื่องจากชิ้นงานหดตัวน้อยเกินไป ชิ้นงานที่ถูกอัดอยู่ระหว่างผนังคอร์กับคาวิตี้ และการเปิดแม่พิมพ์ต้องใช้แรงมากขึ้น นี่เป็นข้อกำหนดที่สำคัญ คือการเสียรูปในแนวขวางการปลดชิ้นงานจะต้องน้อยกว่าขนาดการหดตัวของชิ้นงาน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโครงยาวและบางมากๆ เช่น ในกรณีของถาดเครื่องฉายสไลด์ การเสียรูปในทิศทางการปลดแม่พิมพ์ จะไม่มีผลทันทีต่อการทำงานของแม่พิมพ์แต่จะมีผลต่อขนาดชิ้นงาน การเสียรูปของ slide core และชิ้นส่วนที่ Read More

การควบคุมความชื้นของเทอร์โมพลาสติก



คุณสมบัติที่สำคัญของเทอร์โมพลาสติกคือ ปราศจากความชื้นและสารทำละลายอื่นที่มีจุดเดือดต่ำ ความชื้นปริมาณเล็กน้อยสามารถกลายเป็นไอน้ำได้ ซึ่งจะมีโอกาสติดอยู่ภายในชิ้นงานในระหว่างขั้นตอนการฉีดพลาสติก ไอน้ำนี้จะขยายตัว เมื่อแรงดันของน้ำพลาสติกลดลง ในขั้นตอนหลังของการฉีด ซึ่งนำไปสู่การเกิดโพรงในเนื้อชิ้นงาน บางครั้งโพรงดังกล่าวจะแบน เนื่องจากการเฉือนในระหว่างที่น้ำพลาสติกไหล ทำห้เกิดเป็นรอยเงาที่เรียกว่า mica mark ความชื้นจะถูกดูดซับเข้าไปในเนื้อพลาสติก จึงต้องใช้เวลานานในการอบเม็ดพลาสติกให้แห้ง โดยทั่วไปถ้าใช้อุณหภูมิในการฉีดสูงขึ้น ปริมาณความชื้นที่ยอมให้มีในเม็ดพลาสติกก็จะต้องลดลงตามไปด้วย เนื่องจาก อุณหภูมิที่สูงกว่าจะทำให้น้ำที่มีมวลคงที่ กลายเป็นไอในปริมาตรที่ใหญ่กว่า ตัวอย่างเช่น polycarbonate(PC)ถูกฉีดที่อุณหภูมิประมาณ 300oC ความชิ้นในเนื้อพลาสติกควรมีน้อยกว่า 0.02% ในขณะที่ celluloss acetate(PA)ถูกฉีดที่อุณหภูมิ 170oC ความชื้นที่ยอมให้มีได้ถึง 0.3% เทอร์โฒพลาสติกที่ตัวมันเองมีคุณสมบัติดูดความชื้น (hydrosopic) ในบางครั้งอาจเกิดปัญหานี้ได้ เพราะสารที่เติมลงไปในเม็ดพลาสติกเป็นสาร hydrosopic

ตารางที่1

ชนิดของเทอร์โมพลาสติก

เปอร์เซ็นต์ความชื้นที่ยอมให้มีได้(คิดตามน้ำหนัก)

PAR

PC+ABS

PA

PC+PBT

PC

ABS

PET

PBT

0.02

0.05

0.10

0.02

0.02

0.20

0.03

0.04

 

 

การเสียรูปของแม่พิมพ์ Mould Deformation

การเสียรูปของแม่พิมพ์ Mould Deformation



แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกจะต้องรับแรงมาก และมักจะใช้ฉีดชิ้นงานที่มีความแม่นยำสูง การเสียรูปของแม่พิมพ์ มีผลต่อขนาดของชิ้นงานที่ได้ในขั้นตอนสุดท้าย รวมทั้งการเปลี่ยนขนาดของพลาสติกในระหว่างขั้นตอนการหล่อเย็น นอกจากนี้ การเสียรูปมากเกินไปของแม่พิมพ์ ยังทำให้เกิดผลเสียต่อการฉีดพลาสติก

ผลที่มีต่อคุณภาพชิ้นงาน

– ผิดขนาด

-เกิดคลีบแลบ Flashing

ผลที่มีต่อการทำงานของแม่พิมพ์โดยเฉพาะการเสียรูปในแนวขวางกับทิศทางการปลดชิ้นงาน และมีขนาดใหญ่กว่าการหดตัวของชิ้นงาน จะทำให้เกิดปัญหาในการเปิดแม่พิมพ์ หรือใช้แรงกระทุ้งมากในการปลดชิ้นงาน

 

ด้วยเหตุนี้ความแข็งแรง (rigidity) ของแม่พิมพ์ จึงมีผลต่อคุณภาพของชิ้นงาน และการทำงานที่ถูกต้องของแม่พิมพ์ แม่พิมพ์ทั่วไปประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนหลายชิ้น ซึ่งทั้งหมดจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กับแม่พิมพ์ และทำงานร่วมกัน ชิ้นส่วนของแม่พิมพ์เป็นวัสดุแข็ง ในการออกแบบต้องพิจารณาความเครียด (Strain) จากการดัดและเฉือน ขนาดของชิ้นส่วนต่างๆต้องพิจารณาให้แข็งแรงพอ โดยไม่จำเป็นต้องคิดถึงความเค้นสูงสุดที่รับได้ เพราะการเสียรูปที่ยอมให้มีได้ น้อยอยู่แล้ว

ในบทความครั้งต่อไป ทาง admin จะเสนอแนวทางการวิเคราะห์การเสียรูปของแม่พิมพ์พลาสติก ท่านใดที่สนใจโปรดติดตามได้นะครับ

การคำนวณแรงเพื่อใช้ปลดชิ้นงานพลาสติก

วิธีการคำนวณแรงปลดชิ้นงาน



สำหรับชิ้นงานรูปปลอกและกล่อง ซึ่งหดตัวรัดคอร์ไว้ แรงปลดชิ้นงานหาได้จากความเค้นปกติที่มีอยู่ในเวลาปลดชิ้นงาน และสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน

FR =f ×PA × AC

เมื่อ

f = สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน

PA = แรงดันผิวสัมผัสระหว่างชิ้นงานกับคอร์

AC = พื้นที่ผิวของคอร์

ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจะขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกกับโลหะที่สัมผัสกันอยู่ และตัวแปรในการฉีดพลาสติก การสัมผัสกันระหว่างชั้นผิวพลาสติกที่กลายเป็นของแข็งกับผิวแม่พิมพ์ ในขณะปลดชิ้นงาน  จะมีผลต่อสัมประสิทธิ์ความเสียดทานด้วย ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ซึ่งทำโดยการ EDM และขัดเงาจะมีค่าสัมประสิทธิ์ต่ำกว่าผิวงานที่หยาบ

ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในตอนต้น ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน จะขึ้นอยู่กับความหยาบของผิว  ซึ่งจะได้แสดงค่าไว้ในตารางด้านล่างนี้

พลาสติก

สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสำหรับความหยาบผิวต่างๆ

1µm

6µm

20µm

PE

0.38

0.52

0.70

PP

0.47

0.50

0.84

PS

0.37

0.52

1.82

ABS

0.35

0.46

1.33

PC

0.47

0.68

1.60

นอกจากค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่ได้ เรายังต้องหาแรงดันที่ผิวสัมผัสระหว่างชิ้นงานและคอร์  ซึ่งสามารถคำนวณได้แต่จะขอกล่าวถึงในบทความต่อๆไปนะครับ

อุณหภูมิในการฉีดพลาสติก(Processing Temperature)

การฉีดพลาสติก

เม็ดพลาสติกเมื่อเข้าสู่กระบวนการฉีดพลาสติกจะผ่านการให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่เม็ดพลาสติกจะหลอมเหลว ซึ่งเม็ดพลาสติกแต่ละชนิดจะใช้อุณหภูมิแตกต่างกันไป อุณหภูมิของน้ำพลาสติกและแม่พิมพ์พลาสติกที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 จะใช้กับเทอร์โมพลาสติกเกรดสำหรับฉีดทุกชนิด (ยกเว้นชิ้นงานพิเศษ) โดยทั่วไป อุณหภูมิสำหรับเกรดพลาสติกที่ไหลได้ง่าย จะอยู่ในช่วงที่เป็นค่าต่ำ และพลาสติกเกรดที่ไหลได้ยาก จะใช้อุณหภูมิในช่วงที่เป็นค่าสูง พลาสติกที่อยู่ในกระบอกหลอมเหลวเป็นเวลานาน อันเนื่องจากรอบการฉีดนานเกินไป หรือปริมาตรในการฉีดแต่ละครั้งน้อยกว่าที่หลอมได้นั้น จะต้องลกอุณหภูมิน้ำพลาสติกลง เพื่อป้องกันการเสื่อมของพลาสติกเนื่องจากความร้อน

ตารางที่ 1 แสดงอุณหภูมิของแม่พิมพ์พลาสติกและอุณหภูมิหลอมเหลวของเม็ดพลาสติกแต่ละประเภท

Thermoplastic Mould Temperature ( oC ) Melt Temperture (oC )
ABS 60-80 220 – 260
ABS+PC 70-100 240 – 280
PA6 70-90 240 – 270
PA66 70-90 260 – 290
PA6+30%GF 80-120 260 – 280
PA66+30%GF 80-120 270 – 300
PAR 80-120 320 – 360
PBTB 80-100 250 – 260
PBTB 80-100 250 – 270
PBT+30%GF 80-100 250 – 270
PC 80-100 280 – 320
PC+35-45%GF 80-130 310 – 330
PET 130-140 260 – 280
PPS 140-170 320 – 360

เวลาในการหล่อเย็น

เวลาในการหล่อเย็น ( Cooling Time)

การหล่อเย็นเริ่มต้นเมื่อฉีดพลาสติกเต็มแม่พิมพ์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา ti ความร้อนส่วนใหญ่จะถ่ายเทออกไปในช่วงเวลาหล่อเย็น tc คือเวลาหลังจากการฉีด จนถึงการปิดแม่พิมพ์และปลดชิ้นงาน การออกแบบระบบหล่อเย็น จะขึ้นอยู่กับส่วนของชิ้นงานที่ต้องหล่อเย็นเป็นเวลานานที่สุด ให้เย็นลงจนถึงอุณหภูมิปลดชิ้นงาน TE

เทอร์โมพลาสติกกับอัตราการหล่อเย็น

เทอร์โมพลาสติกกับอัตราการหล่อเย็น

การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างพลาสติกและสารหล่อเย็น เกิดขึ้นโดยการนำความร้อนในแม่พิมพ์  การนำความร้อนสามารถอธิบายได้ด้วย Fourier’s differential equation โดยใช้การคำนวณแบบ 1มิติก็พอ เพราะชิ้นงานฉีดพลาสติกมักจะใช้การแก้ปัญหาใน2มิติและถ่ายเทความร้อนออกในหนึ่งทิศทาง

ในกรณีของการถ่ายเทความร้อนแบบหนึ่งมิติ Fourier’s differential equation สามารถลดรูปได้เป็น

eq1

สัญลักษณ์ในสมการต่างๆเป็นดังนี้ Read More

การวางตำแหน่งทางเข้าน้ำพลาสติก(ตอน3)

ทางเข้าน้ำโมพลาสติก

ในโมพลาสติกเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าผิวของคาวิตี้ จะมีผลต่อความเรียบ,ความเงา,และการผิดรูปของชิ้นงาน (เกิดได้หาcoreมีผิวหยาบ) นอกจากนี้แล้วในการออกแบบ runner และ gate ควรให้แน่ใจว่าน้ำพลาสติกไม่พุ่งเป็นลำเข้าไปในคาวิตี้เมื่อไหลมาจนถึงคาวิตี้ ซึ่งกว้างออกหักมุมกับทิศทางการไหล น้ำพลาสติกควรกระทบกับผนังหรือผิวอื่นของแม่พิมพ์ ดังแสดงในภาพด้านล่าง เพื่อป้องกันการเกิด jetting ควรระมัดระวังเพื่อให้แน่ใจว่า ส่วนของผนังคาวิตี้ที่ต่อจาก gate จะมีน้ำพลาสติกท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอในทิศทางการไหล

รูปแบบ lateral film gate และแบบ Pin gate หลายจุด

รูปแบบ lateral film gate และแบบ Pin gate หลายจุด

ถ้าการเพิ่มอุณหภูิมิแม่พิมพ์ใช้ไม่ได้ผล ในการขจัดปัญหาเรื่องการเกิดผิวเหมือนน้ำแข็ง (Frost) เส้นคล้ายตัวหนอน และบริเวณที่มีผิวด้าน ก็จะแก้ไขข้อบกพร่องนี้ได้ โดยต่อ runner ออกไปจนเป็นส่วนที่ดักเศษพลาสติก (cold slug well) อยู่ถัดจาก gate ทำหน้าที่ Read More

การวางตำแหน่งทางเข้าน้ำพลาสติก(ตอน2)

โมพลาสติกกับทางเข้าพลาสติก

ต่อเนื่องจากบทความที่แล้ว การตัดสินใจในเรื่องชนิดและการวางตำแหน่งของ gate ทำให้วางแผนได้ว่า ในที่สุดแล้ว ชิ้นงานที่ต้องการผลิต จะมีแบบ (drawing) เป็นอย่างไร และยังช่วยตัดสินใจว่า จะใช้แม่พิมพ์ที่มีหนึ่งหรือหลายคาวิตี้ ควรจำไว้ด้วยว่า การวางตำแหน่งไม่ควรอยู่บนผิวที่มองเห็นได้ของชิ้นงาน อาจจำเป็นต้องเลือกให้ gate เข้าที่ตำแหน่งอื่น (คล้ายกับการพิจารณาวางตำแหน่งของกลไกปลดชิ้นงาน)

ชนิดและการวางตำแหน่งของ gate ในแบบต่างๆ ได้สรุปไว้ด้านล่างนี้ และลักษณะการออกแบบต่อไปนี้ จะใช้สำหรับแม่พิมพ์คาวิตี้เดียว

-Spure gate หรือ Pin gate ที่มีช่องที่พลาสติกเตรียมถูกฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์ (Ante-Chamber)

-ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่โดยใช้ Cold runner (แม่พิมพ์แบบสามแผ่น)ที่มี Pin gate เข้าหลายจุด หรือ Film gate เข้าตรงกลางรวมทั้งใช้ Hot runner หรือหุ้มฉนวนที่เป็น runner ซึ่งต่อกับ Pin gate หลายจุด และใช้ Spure gate

-การฉีดชิ้นงานรูปท่อโดยใช้ Spure กับ Runner ที่วางเรียงเป็นรูปดาวและมี gate เข้าหลายจุด หรือ runner รูปจานที่มี film gate เป็นรูปวงแหวน

-การฉีดชิ้นงานที่เป็นกรอบ (Frame) โดยใช้ Spure กับ Runner ที่่ต่อกับ Film gate หรือ Tunnel gate(Submarine gate)เข้าด้านข้างหลายจุด

ในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีสองคาวิตี้ หรือมากกว่า เส้นทางที่น้ำพลาสติกไหลเข้าสู่คาวิตี้จะเป็นดังนี้

-จาก Spure ไป Runner และ gate ด้านข้าง (lateral gate) Film gate หรือ Tunnel gate

-จาก Spure ไป Cold runner (แม่พิมพ์สามแผ่น) ,Hot runner หรือ runner หุ้มฉนวน แล้วไป pin gate จุดเดียวหรือหลายจุด แบบนี้จะสามารถใช้งานร่วมกันระหว่าง hot runner และ cold runner หรือ runner หุ้มฉนวนกับแท่งให้ความร้อน (heater mandrel)

นอกจากนี้ ตำแหน่งและชนิดของ gate ยังขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกที่ใช้ในการฉีด สำหรับชิ้นงานแผ่นสี่เหลี่ยมแบน ใช้ Film gate เข้าด้านข้าง หรือ Pin gate เข้าหลายจุด จะได้ผลดีกว่าใช้ Spure gate หรือ Pin gate เข้าจุดเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการฉีดพลาสติกโครงสร้างเป็นระเบียบที่มีการหดตัวขึ้นอยู่กับทิศทาง เพราะการไหลของพลาสติกขนานกันจะควบคุมการหดตัวต่างๆได้ง่ายกว่า การใช้ Pin gate เข้าหลายจุด และไม่เหมาะกับชิ้นงานฉีดพลาสติกที่ต้องการผิวชิ้นงานที่ปราศจากรอยต่อ (weld line)

การวางตำแหน่งทางเข้าน้ำพลาสติก

การวางตำแหน่ง Gate ในโมพลาสติก

ทางเข้าน้ำพลาสติกเป็นส่วนที่สำคัญ ไม่เฉพาะสำหรับการฉีดพลาสติกให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่ยังมีผลไปถึงการปลดชิ้นงานในขั้นตอนสุดท้าย และการผลิตชิ้นงานโดยปราศจากข้อบกพร่องด้วย

ในบทความนี้จะอธิบายถึงรูปร่างทั่วไปของ gate พร้อมด้วยคุณลักษณะและแบบที่ต่างกัน ชนิดและการวางตำแหน่งของ gate บนชิ้นงานฉีดพลาสติก จะกำหนดให้เป็นไปตามความต้องการพื้นฐาน คือ น้ำพลาสติกควรไหลเข้าแม่พิมพ์อย่างรวดเร็ว ด้วยเส้นทางการไหลที่สั้น โดยมีการสูยเสียความร้อนและแรงดันน้อยที่สุด และควรไหลไปถึงปลายทางทุกแห่งของคาวีตี้ในเวลาำไล่เลี่ยกัน ซึ่งมีความสำคัญต่อแม่พิมพ์แีดพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่พิมพ์ที่มีหลายคาวีตี้ เส้นทางการไหลของน้ำพลาสติกไปทุกคาวีตี้จะต้องเหมือนกัน

การวางตำแหน่งของ gate มีผลต่อเส้นทางการไหล (Flow path) ของน้ำพลาสติกที่เข้าไปในคาวีตี้ และการเกิด weld line ภาพด้านล่าง(ขวามือ)แสดง gate ที่เข้าด้านข้างตามปกติ (Normal,Lateral Gate)ทำมุมอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้น้ำพลาสติกไหลเข้าไปในคาวีตี้โดยปราศจากการควบคุม สิ่งสำคัญในการวางตำแหน่งของ gate คือ น้ำพลาสติกจะต้องชนผนังคาวิตี้หรือ core

ทางเข้าน้ำพลาสติก

ทางเข้าน้ำพลาสติก

 

ถ้าน้ำพลาสติกถูกฉีดเข้าไปในที่ว่างของคาวิตี้โดยตรง จะเกิดการไหลเป็นรูปไส้กรอกหรือตัวหนอน ดังภาพด้านบน(ภาพกลาง) ในกรณีนี้ Read More