Archives for ฉีดพลาสติก

การฉีดพลาสติกแบบแรงดันอัด Injection Pressing

Injection Pressing เทคนิคการฉีดพลาสติกโดยใช้แรงอัด



ฉีดพลาสติกแรงอัด

ฉีดพลาสติกแรงอัด


ในการฉีดพลาสติกขนาดใหญ่ บางครั้งเครื่องฉีดที่ใช้มีแรงฉีดและแรงประกบไม่เพียงพอ อาจทำได้ด้วยการลดแรงประกบแม่พิมพ์ในตอนแรกของกระบวนการฉีดพลาสติก และยังไม่ต้องใช้แรงดันฉีดที่สูงมากนัก ในทันทีที่น้ำพลาสติกหลอมเหลวถูกฉีดเข้าไปเติมเต็มในแม่พิมพ์ แม่พิมพ์จะถูกอัดเข้าด้วยแรงกระแทกอีกครั้ง ซึ่งเทคนิคนี้ได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในประเทศเยอรมัน แม่พิมพ์สำหรับใช้กับเทคนิคนี้จะต้องถูกออกแบบมาเป็นพิเศษ คือจะต้องมีระยะเพื่อให้แม่พิมพ์เลื่อนชิดกันได้ และเส้นแบ่งแม่พิมพ์ (Parting Line) จะต้องไม่ชิดกัน

วิธีการนี้นอกจากใช้กับชิ้นงานที่มีพื้นที่มากๆแล้ว ยังสามารถใช้กับงานทั่วๆไป และจะทำให้แรงดันประกบบนผิวงาน มีความสม่ำเสมอเท่ากันทั้งชิ้นงาน ทำให้ได้ชิ้นงานที่ไม่มีความเค้นตกค้าง

เกลียวพลาสติกด้านข้าง

การปลดเกลียวพลาสติกด้านข้าง



ในงานออกแบบชิ้นส่วนพลาสติก ผู้ออกแบบโดยมากมักจะออกแบบให้ชิ้นงานพลาสติกสามารถผลิตได้โดยง่าย ทั้งในส่วนของแม่พิมพ์ที่ใช้ผลิต และกระบวนการฉีดชิ้นส่วนพลาสติก เนื่องจากหากชิ้นส่วนพลาสติกมีความซับซ้อนมาก จะทำให้ราคาแม่พิมพ์สูงขึ้น และยังต้องใช้ระยะเวลาในการสร้างแม่พิมพ์ที่นานขึ้นตามไปด้วย หลังจากได้แม่พิมพ์ เมื่อนำไปทำการผลิตชิ้นงานพลาสติก ระยะเวลาฉีดสำหรับชิ้นงานพลาสติกที่ซับซ้อนมักจะนานกว่า ทำให้ราคาฉีดสูงขึ้นตามไปด้วย

แต่ในบางครั้งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการออกแบบชิ้นส่วนพลาสติกที่ซับซ้อนได้ ก็จำเป็นต้องสร้างแม่พิมพ์เพื่อให้สามารถผลิตได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

แม่พิมพ์แบบมีเกลียวด้านข้าง

การทำเกลียวในชิ้นส่วนพลาสติกเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เนื่องจากทิศทางในการเปิดแม่พิมพ์มีทิศทางเดียว แต่การปลดเกลียว(ในกรณีนี้พูดถึงการทำเกลียวใน) จำเป็นต้องใช้การเคลื่อนที่ 2 ทิศทาง(การหมุนและการเคลื่อนที่ตามแนวแกน)  ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จึงต้องจัดทำระบบกลไก เพื่อให้เกิดการหมุนและเลื่อนไปตามแนวแกนพร้อมกันในขณะที่ทำการเปิดแม่พิมพ์ ตามภาพด้านบน เมื่อแม่พิมพ์เปิดจะมีแกนเลื่อนเพื่อเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่เป็นแนวนอน Read More

งานฉีดพลาสติกงอโค้งที่มีสาเหตุจากความแตกต่างของการหดตัว

งานฉีดพลาสติกงอโค้งที่มีสาเหตุจากความแตกต่างของการหดตัว



ในงานฉีดพลาสติก การหดตัวที่ไม่เท่ากันในทิศทางการไหลและทิศทางตั้งฉากกับการไหล จะทำให้ชิ้นงานมีโอกาสงอโค้ง และถ้ารูปร่างของชิ้นงานไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ ก็จะเกิดการเสียรูปได้ ในกรณีที่ชิ้นงานฉีดเป็นแผ่นอย่างง่ายๆ โดยฉีดเข้าที่ gate ซึ่งกว้างเต็มแผ่น ดังภาพที่1 ทิศทางการไหลและทิศทางที่ Orientation เกิดมากที่สุด จะอยู่ขนานกับด้านข้างของชิ้นงาน เมื่อชิ้นงานเย็นตัวลงการหดตัวตามความยาวของชิ้นงานจะมีมากกว่าการหดตัวตามความกว้าง แต่เนื่องจากผลที่เกิดไม่มีความเค้นภายในชิ้นงานจึงไม่เกิดการบิดงอ

การหดตัวที่ไม่เท่ากันในงานฉีดพลาสติก

การหดตัวที่ไม่เท่ากันในงานฉีดพลาสติก

ในกรณีของชิ้นงานรูปจานกลม ดังภาพที่2 เข้า gate ตรงกลางจุด O การหดตัวมากที่สุดจะอยู่ตามเส้นทางการไหล OA,OB การหดตัวตามเส้นตั้งฉากกับการไหล PC,PD จะน้อยกว่าและทำให้มีเนื้อพลาสติกเกินมาในแนวเส้นรอบวงของชิ้นงาน จึงมีความพยายามที่จะปรับตัว ให้เหมากับเส้นผ่าศูนย์กลางของจานที่ลดลงไป ซึ่งเป็นไปได้เมื่อชิ้นงานเกิดการงอโค้ง การเปลี่ยนสภาพการฉีดเพื่อลด Orientation จะลดความแตกต่างของการหดตัว ขณะที่การเปลี่ยนเกรดของพลาสติกไปเป็นเกรดที่มี Orientation น้อย และความแตกต่างของการหดตัวน้อย จะช่วยลดการงอโค้งได้ การใช้พลาสติกที่น้ำหนักของโมเลกุลน้อย Read More

การวางตำแหน่งทางเข้าน้ำพลาสติก

การวางตำแหน่ง Gate ในโมพลาสติก

ทางเข้าน้ำพลาสติกเป็นส่วนที่สำคัญ ไม่เฉพาะสำหรับการฉีดพลาสติกให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย แต่ยังมีผลไปถึงการปลดชิ้นงานในขั้นตอนสุดท้าย และการผลิตชิ้นงานโดยปราศจากข้อบกพร่องด้วย

ในบทความนี้จะอธิบายถึงรูปร่างทั่วไปของ gate พร้อมด้วยคุณลักษณะและแบบที่ต่างกัน ชนิดและการวางตำแหน่งของ gate บนชิ้นงานฉีดพลาสติก จะกำหนดให้เป็นไปตามความต้องการพื้นฐาน คือ น้ำพลาสติกควรไหลเข้าแม่พิมพ์อย่างรวดเร็ว ด้วยเส้นทางการไหลที่สั้น โดยมีการสูยเสียความร้อนและแรงดันน้อยที่สุด และควรไหลไปถึงปลายทางทุกแห่งของคาวีตี้ในเวลาำไล่เลี่ยกัน ซึ่งมีความสำคัญต่อแม่พิมพ์แีดพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม่พิมพ์ที่มีหลายคาวีตี้ เส้นทางการไหลของน้ำพลาสติกไปทุกคาวีตี้จะต้องเหมือนกัน

การวางตำแหน่งของ gate มีผลต่อเส้นทางการไหล (Flow path) ของน้ำพลาสติกที่เข้าไปในคาวีตี้ และการเกิด weld line ภาพด้านล่าง(ขวามือ)แสดง gate ที่เข้าด้านข้างตามปกติ (Normal,Lateral Gate)ทำมุมอย่างเหมาะสม เพื่อไม่ให้น้ำพลาสติกไหลเข้าไปในคาวีตี้โดยปราศจากการควบคุม สิ่งสำคัญในการวางตำแหน่งของ gate คือ น้ำพลาสติกจะต้องชนผนังคาวิตี้หรือ core

ทางเข้าน้ำพลาสติก

ทางเข้าน้ำพลาสติก

 

ถ้าน้ำพลาสติกถูกฉีดเข้าไปในที่ว่างของคาวิตี้โดยตรง จะเกิดการไหลเป็นรูปไส้กรอกหรือตัวหนอน ดังภาพด้านบน(ภาพกลาง) ในกรณีนี้ Read More

การออกแบบชิ้นงานฉีดพลาสติก

หลักเกณฑ์ในการออกแบบชิ้นงานฉีดพลาสติก

รูปร่างและประโยชน์ใช้สอยของพลาสติกนั้น จะขึ้นอยู่กับการออกแบบอย่างเหมาะสมบ่อยครั้งที่ชิ้นงานพลาสติก ซึ่งผู้ออกแบบผลิตภัณท์หรือลูกค้าสั่งทำนั้น จำต้องมีการแก้ไข เพราะมีข้อจำกัดเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการฉีดชิ้นงาน หรือการทำแม่พิมพ์ ยกตัวอย่างเช่น การให้มีมุมลาดเอียง (draft angle) ชิ้นงานที่ผู้ออกแบบหรือที่ลูกค้าต้องการ อาจตรงและมีผนังเป็นมุมฉาก อาจเป็นไปไม่ได้ในทางปฎิบัติ เพราะการปลดชิ้นงานไม่สามารถทำได้ โดยเฉพาะชิ้นงานที่อยู่บนคอร์(แม่พิมพ์ฝั่งตัวผู้)หดตัว เนื่องจากการหล่อเย็น คอร์ที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกจะถูกชิ้นงานบีบรัดจนแน่น และไม่สามารถปลดจากคอร์ได้ ยิ่งกว่านั้น ไม่เพียงแต่การหดตัวที่ทำให้ชิ้นงานติดอยู่กับคอร์ แต่สูญญากาศที่เกิดจากความพยายามปลดชิ้นงาน จะเป็นอุปสรรคต่อการปลดชิ้นงานออกจากคอร์ด้วย ดังนั้นชิ้นงานฉีดพลาสติกทุกชิ้น จำเป็นต้องมีมุมลาดเอียงอย่างน้อยที่สุด 0.5~1องศา

ในบางกรณี ถ้ามีการเปลี่ยนแบบชิ้นงานเล็กน้อย โดยไม่ทำให้ประโยชน์ใช้สอยด้อยลงไปจะสามารถลดค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์ลงไปได้มาก ตัวอย่างเช่น การย้ายตำแหน่งของรู อาจทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำ side core ซึ่งรวมถึงชิ้นส่วนที่ทำงานร่วมกัน คือ angle pin, core lock เป็นต้น ชิ้นส่วนเหล่านี้จะทำให้เพิ่มค่าใช้จ่ายในการทำแม่พิมพ์อีกมาก

เทคนิคการเพิ่มความหนาบริเวณ gate

เทคนิคการเพิ่มความหนาบริเวณ gate

ชิ้นงานฉีดพลาสติกที่ต้องการพิกัดความเผื่อละเอียดจนเกินไป ก็มีส่วนทำให้ราคาของแม่พิมพ์สูงขึ้น และมักจะมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย ชิ้นงานที่มีความแม่นยำมากกว่า อาจใช้รอบเวลาในการผลิตที่นานกว่า และยังเป็นการเพิ่ม Read More

การไหลของน้ำพลาสติกในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

การไหลของน้ำพลาสติกในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

กระบวนการไหลของพลาสติกหลอมเหลวในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกนั้น เป็นเรื่องที่ซับซ้อน โดยปัจจัยทางด้านผนังคาวิตี้ของแม่พิมพ์ ซึ่งเย็นกว่าจุดที่น้ำพลาสติกแข็งตัว เมื่อน้ำพลาสติกเข้าสู่คาวิตี้ ผิวนอกของพลาสติกจะสัมผัสกับผิวคาวิตี้ที่เย็นกว่า จนกลายเป็นพลาสติกแข็งไปในทันที ขณะที่แกนกลางของพลาสติกยังคงหลอมเหลวอยู่ พลาสติกที่ฉีดตามเข้าไป จะไหลอยู่ในแกนกลางนี้ โดยดันพลาสติกที่อยู่บริเวณนั้นให้ไหลออกไป เกิดเป็นส่วนหน้าของการไหลขึ้นมาใหม่ การไหลของพลาสติกที่ถูกดันไปนี้ เป็นการผสมกันระหว่างการไหลไปข้างหน้า กับการไหลออกข้างนอก ส่วนที่ไหลออกข้างนอก จะสัมผัสกับผนังคาวิตี้จนแข็งตัว และกลายเป็นทางพลาสติกใหม่ที่ไหลเข้ามาตามช่องที่มีผนังเป็นพลาสติกแข็ง

แสดงภาพตัดของท่อทางวิ่งพลาสติก ในขณะที่พลาสติกไหลเข้าสู่คาวิตี้

แสดงภาพตัดของท่อทางวิ่งพลาสติก ในขณะที่พลาสติกไหลเข้าสู่คาวิตี้

น้ำพลาสติกจะไหลเต็มคาวิตี้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความหนาของชิ้นงานที่ฉีด ระยะทางที่น้ำพลาสติกไหลและตัวแปรในการฉีด คือ Read More

การหาจำนวนคาวิตี้

การคำนวณหาจำนวน Cavityของ แม่พิมพ์พลาสติก

ในการออกแบบแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ คือเรื่องจำนวนของคาวิตี้ การกำหนดจำนวนของคาวิตี้ โดยทั่วๆไปที่ผู้ออกแบบแม่พิมพ์พลาสติกจะนิยมใช้กันคือ เมื่อทราบจำนวนของชิ้นงานที่ต้องผลิตต่อ 1 เดือน แล้วจึงประมาณรอบการทำงานของการฉีดชิ้นงาน (Cycle Time) เพื่อนำไปคำนวณหาเวลาที่ต้องใช้ในการฉีดชิ้นงานทั้งหมดที่ต้องการใน 1 เดือน จากนั้นก็หาเวลาที่เครื่องฉีดทำงานใน 1 เดือนจำนวนเท่าของเวลาที่ต่างกันทั้ง 2 ชุด ก็คือจำนวนคาวิตี้ที่ควรจะมีในแม่พิมพ์พลาสติก แต่วิธีนี้ไม่ได้พิจารณาถึงความเที่ยงตรงของการผลิตจำนวนคาวิตี้ที่มากกว่า 1 ดังนั้นจึงมักพบเสมอว่าใช้วิธีนี้แล้ว ชิ้นงานที่ฉีดได้จากคาวิตี้ตามจำนวนที่คิดไว้ มีบางส่วนที่มีขนาดผิดพลาดเกินพิกัดที่ยอมรับได้ อันเนื่องมาจาก Moulding Condition ที่ไม่เหมาะสม แต่การจะหาจุดที่เหมาะสมที่สุดนั้นเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก จากประสบการณ์ที่ได้ทำกันมาจำนวนชิ้นงานที่เสียน้อยที่สุดคือ 4% ของชิ้นงานที่ได้จากแม่พิมพ์หลายคาวิตี้ อย่างไรก็ดีควรคำนึงถึงสภาพเครื่องฉีดพลาสติกที่ใช้และสภาพของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่ใช้ด้วย เนื่องจากทั้งสองอย่างนี้จะเป็นตัวแปรหลักในการทำให้ชิ้นงานที่ได้นั้นมีคุณภาพตรงตามแบบที่ต้องการหรือไม่

การคำนวณเพื่อกำหนดจำนวนคาวิตี้ของแม่พิมพ์พลาสติก จำเป็นจะต้องรู้เกี่ยวกับชนิดของพลาสติก ขนาดของเครื่องฉีดพลาสติกและการออกแบบแม่พิมพ์พลาสติก ค่าใช้จ่ายในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกนั้น Read More

การสมดุลของแรงในแม่พิมพ์พลาสติก

การสมดุลแรงในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

การสมดุลแรงในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

จากบทความก่อนหน้านี้ เรื่องการวางหลุมแม่พิมพ์พลาสติกคงทำให้พอทราบวิธีการจัดวางท่อทางเดินน้ำพลาสติกและเหตุผลที่ต้องออกแบบทางวิ่งในรูปร่างต่างๆ เพื่อให้พลาสติกมีระยะทางเท่ากันน้ำพลาสติกจะได้เติมเต็มในโพรงแบบได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี ในบางกรณีที่ชิ้นงานมีความซับซ้อนเราไม่สามารถวางตำแหน่งหัวฉีดให้อยู่ศูนย์กลางแม่พิมพ์ได้  ทำให้เราต้องเลื่อนตำแหน่งหัวฉีดให้อยู่เยื้องออกไป หรือในบางครั้งอาจเปลี่ยนตำแหน่งหัวฉีดให้ไปเข้าทางด้านข้างแทนได้

ในงานแม่พิมพ์พลาสติกบทบาทของทางวิ่ง เป็นส่วนที่ต่อจากแกนฉีดก่อนที่พลาสติกจะไหลเข้าสู่คาวิตี้ เป็นเส้นทางควบคุมการไหลของพลาสติกให้เข้าสู่คาวิตี้ ให้มีคุณสมบัติที่เหมือนกัน และมีความดันที่เท่ากันในเวลาเดียวกัน Read More

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกแบบ3plate

runnerแม่พิมพ์พลาสติก,ทางเข้าน้ำพลาสติก

ภาพที่ 1 แสดงrunnerแม่พิมพ์พลาสติก,ทางเข้าน้ำพลาสติก

จากบทความเรื่องของ แม่พิมพ์พลาสติก ที่เคยนำเสนอไปหลายวันก่อน วันนี้ admin จะมาเพิ่มเติม เรื่องของทางเข้าพลาสติกอีกแบบที่ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะนิยมใช้กันมาก ช่างทำแม่พิมพ์พลาสติกส่วนใหญ่จะเรียกระบบนี้ว่า แม่พิมพ์แบบ3plate หรือ แม่พิมพ์แบบเข็ม สำหรับระบบนี้จะแตกต่างจาก 2plate คือ จะต้องมีแผ่นแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งแผ่นเพื่อเป็นทางวิ่งของน้ำพลาสติกหลอมเหลว ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่เป็นระบบปลดทางวิ่งของน้ำพลาสติกด้วย เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการฉีดในหนึ่งรอบการฉีด

แม่พิมพ์พลาสติกแบบ3plate,Pin-Point Gate

ภาพที่ 2 แสดงแม่พิมพ์พลาสติกแบบ3plate,Pin-Point Gate

ขออธิบายลักษณะการทำงานของแม่พิมพ์ชนิดนี้ คือจากภาพที่ 1ส่วนบนสุดคือแกนหัวฉีด (sprue) จะทำหน้าที่รับน้ำพลาสติหลอมเหลวจากเครื่องฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์ เมื่อน้ำพลาสติกไหลผ่านตัว sprue จะเข้าสู่ main runner ซึ่งจะเป็นทางวิ่งที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้แล้ว Read More