Archives for พลาสติก

ฉีดพลาสติก และอัตราการเย็นตัว

โมลฉีดพลาสติกล้วนถูกออกแบบมาเพื่อ ฉีดพลาสติก ให้ได้ชิ้นงานออกมาสมบูรณ์ถูกต้องตามที่ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ ในขั้นตอนการสร้าง แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก นั้น หากผู้ออกแบบขาดประสบการณ์ในงานฉีดพลาสติก อาจทำให้ชิ้นงานพลาสติกเกิดปัญหาขึ้นได้

ในการฉีดพลาสติกจุดที่ส่งผลต่อชิ้นงานพลาสติกคือแรงดันและอุณหภูมิ ซึ่งมีผลต่อการหดตัวของชิ้นงาน ความหนาของผนังชิ้นงานที่แตกต่างกันย่อมส่งผลต่อเวลาในการหล่อเย็นที่ต่างกัน และมีโอกาสที่จะเกิดฟองอากาศด้านในได้

อัตราการเย็นตัวงานฉีดพลาสติก
การเย็นตัว งานฉีดพลาสติก

จากตารางที่1 แสดงความสัมพันธ์ของอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการหล่อเย็นชิ้นงาน โดยแบ่งชิ้นงานเป็น4แบบ มีความหนาชิ้นงานเท่ากัน แตกต่างกันเพียงจุดรอยต่อขอชิ้นงาน จะเห็นได้ว่าชิ้นงาน a ใช้เวลาในการหล่อเย็นถึงจุด Te น้อยกว่าชิ้นงาน d ถึง15วินาที

การหดตัวภายหลังของพลาสติก

การหดตัวภายหลังของพลาสติก

งานฉีดพลาสติก ความรู้ความเข้าใจเรื่องการหดตัวของพลาสติกที่ใช้ฉีด มีความสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจอย่างยิ่ง เพื่อจะให้การออกแบบแม่พิมพ์ใช้ฉีดชิ้นงานได้ขนาดตามต้องการ การหดตัวของพลาสติก คือ ความแตกต่างของขนาดชิ้นงาน เมื่อขณะยังร้อนอยู่ และเมื่อชิ้นงานเย็นตัวแล้ว (ประมาณ24ชม.หลังจากฉีด) อัตราการหดตัวแสดงได้เป็นเปอร์เซ็นต์ของชนิดพลาสติกที่ใช้
ภาพแสดงคุณสมบัติของพลาสติก
ภาพแสดงคุณสมบัติของพลาสติก
การหดตัวของพลาสติกพวกโครงสร้างเป็นระเบียบ มีความซับซ้อนยุ่งยากมากกว่าพวกพลาสติกโครงสร้างไม่เป็นระเบียบ (armorphous)และมักมีการหดตัวมากกว่าด้วย ความแตกต่างของการหดตัวในทิศทางต่างๆเกิดขึ้นได้ในทิศทางตามการไหล และทิศทางที่ตั้งฉากกับการไหล เนื่องจากการหดตัวขอองโมเลกุลใน2ทิศทางนี้ต่างกัน Read More

การคำนวณแรงเพื่อใช้ปลดชิ้นงานพลาสติก

วิธีการคำนวณแรงปลดชิ้นงาน



สำหรับชิ้นงานรูปปลอกและกล่อง ซึ่งหดตัวรัดคอร์ไว้ แรงปลดชิ้นงานหาได้จากความเค้นปกติที่มีอยู่ในเวลาปลดชิ้นงาน และสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน

FR =f ×PA × AC

เมื่อ

f = สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน

PA = แรงดันผิวสัมผัสระหว่างชิ้นงานกับคอร์

AC = พื้นที่ผิวของคอร์

ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจะขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกกับโลหะที่สัมผัสกันอยู่ และตัวแปรในการฉีดพลาสติก การสัมผัสกันระหว่างชั้นผิวพลาสติกที่กลายเป็นของแข็งกับผิวแม่พิมพ์ ในขณะปลดชิ้นงาน  จะมีผลต่อสัมประสิทธิ์ความเสียดทานด้วย ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ซึ่งทำโดยการ EDM และขัดเงาจะมีค่าสัมประสิทธิ์ต่ำกว่าผิวงานที่หยาบ

ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในตอนต้น ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน จะขึ้นอยู่กับความหยาบของผิว  ซึ่งจะได้แสดงค่าไว้ในตารางด้านล่างนี้

พลาสติก

สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสำหรับความหยาบผิวต่างๆ

1µm

6µm

20µm

PE

0.38

0.52

0.70

PP

0.47

0.50

0.84

PS

0.37

0.52

1.82

ABS

0.35

0.46

1.33

PC

0.47

0.68

1.60

นอกจากค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่ได้ เรายังต้องหาแรงดันที่ผิวสัมผัสระหว่างชิ้นงานและคอร์  ซึ่งสามารถคำนวณได้แต่จะขอกล่าวถึงในบทความต่อๆไปนะครับ

การวางตำแหน่งทางเข้าน้ำพลาสติก(ตอน2)

โมพลาสติกกับทางเข้าพลาสติก

ต่อเนื่องจากบทความที่แล้ว การตัดสินใจในเรื่องชนิดและการวางตำแหน่งของ gate ทำให้วางแผนได้ว่า ในที่สุดแล้ว ชิ้นงานที่ต้องการผลิต จะมีแบบ (drawing) เป็นอย่างไร และยังช่วยตัดสินใจว่า จะใช้แม่พิมพ์ที่มีหนึ่งหรือหลายคาวิตี้ ควรจำไว้ด้วยว่า การวางตำแหน่งไม่ควรอยู่บนผิวที่มองเห็นได้ของชิ้นงาน อาจจำเป็นต้องเลือกให้ gate เข้าที่ตำแหน่งอื่น (คล้ายกับการพิจารณาวางตำแหน่งของกลไกปลดชิ้นงาน)

ชนิดและการวางตำแหน่งของ gate ในแบบต่างๆ ได้สรุปไว้ด้านล่างนี้ และลักษณะการออกแบบต่อไปนี้ จะใช้สำหรับแม่พิมพ์คาวิตี้เดียว

-Spure gate หรือ Pin gate ที่มีช่องที่พลาสติกเตรียมถูกฉีดเข้าไปในแม่พิมพ์ (Ante-Chamber)

-ชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่โดยใช้ Cold runner (แม่พิมพ์แบบสามแผ่น)ที่มี Pin gate เข้าหลายจุด หรือ Film gate เข้าตรงกลางรวมทั้งใช้ Hot runner หรือหุ้มฉนวนที่เป็น runner ซึ่งต่อกับ Pin gate หลายจุด และใช้ Spure gate

-การฉีดชิ้นงานรูปท่อโดยใช้ Spure กับ Runner ที่วางเรียงเป็นรูปดาวและมี gate เข้าหลายจุด หรือ runner รูปจานที่มี film gate เป็นรูปวงแหวน

-การฉีดชิ้นงานที่เป็นกรอบ (Frame) โดยใช้ Spure กับ Runner ที่่ต่อกับ Film gate หรือ Tunnel gate(Submarine gate)เข้าด้านข้างหลายจุด

ในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกที่มีสองคาวิตี้ หรือมากกว่า เส้นทางที่น้ำพลาสติกไหลเข้าสู่คาวิตี้จะเป็นดังนี้

-จาก Spure ไป Runner และ gate ด้านข้าง (lateral gate) Film gate หรือ Tunnel gate

-จาก Spure ไป Cold runner (แม่พิมพ์สามแผ่น) ,Hot runner หรือ runner หุ้มฉนวน แล้วไป pin gate จุดเดียวหรือหลายจุด แบบนี้จะสามารถใช้งานร่วมกันระหว่าง hot runner และ cold runner หรือ runner หุ้มฉนวนกับแท่งให้ความร้อน (heater mandrel)

นอกจากนี้ ตำแหน่งและชนิดของ gate ยังขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกที่ใช้ในการฉีด สำหรับชิ้นงานแผ่นสี่เหลี่ยมแบน ใช้ Film gate เข้าด้านข้าง หรือ Pin gate เข้าหลายจุด จะได้ผลดีกว่าใช้ Spure gate หรือ Pin gate เข้าจุดเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการฉีดพลาสติกโครงสร้างเป็นระเบียบที่มีการหดตัวขึ้นอยู่กับทิศทาง เพราะการไหลของพลาสติกขนานกันจะควบคุมการหดตัวต่างๆได้ง่ายกว่า การใช้ Pin gate เข้าหลายจุด และไม่เหมาะกับชิ้นงานฉีดพลาสติกที่ต้องการผิวชิ้นงานที่ปราศจากรอยต่อ (weld line)

พลาสติก

พลาสติก

ประวัติความเป็นมาของพลาสติก วัสดุพลาสติกสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ตามอนุพันธ์และการสังเคราะห์ พลาสติกที่ได้จากธรรมชาติ เช่น fiber (1859) celluloid ประมาณปี คศ 1870 และ artifical horn (1897) พลาสติกที่ทำจาก cellolose ได้พัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี 1910 ซึ่งพลาสติกเหล่านี้ยังคงใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และเป็นคู่แข่งที่สำคัญของพลาสติกแผ่นบางที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณท์

โครงสร้างและการเรียงตัวของโมเลกุลของพลาสติก

โครงสร้างและการเรียงตัวของโมเลกุลของพลาสติก

พลาสติกชนิด thermosets มาจากการค้นพบของ L.H.Bakeland ในปี คศ 1910 ซึ่งเราเรียกกันว่า Bekelite การผลิตพลาสติกในปัจจุบัน หรือที่เรียกกันว่า thermoplastic ได้เริ่มมาตั้งแต่ปี คศ 1922โดย Read More

การสมดุลของแรงในแม่พิมพ์พลาสติก

การสมดุลแรงในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

การสมดุลแรงในแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก

จากบทความก่อนหน้านี้ เรื่องการวางหลุมแม่พิมพ์พลาสติกคงทำให้พอทราบวิธีการจัดวางท่อทางเดินน้ำพลาสติกและเหตุผลที่ต้องออกแบบทางวิ่งในรูปร่างต่างๆ เพื่อให้พลาสติกมีระยะทางเท่ากันน้ำพลาสติกจะได้เติมเต็มในโพรงแบบได้อย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี ในบางกรณีที่ชิ้นงานมีความซับซ้อนเราไม่สามารถวางตำแหน่งหัวฉีดให้อยู่ศูนย์กลางแม่พิมพ์ได้  ทำให้เราต้องเลื่อนตำแหน่งหัวฉีดให้อยู่เยื้องออกไป หรือในบางครั้งอาจเปลี่ยนตำแหน่งหัวฉีดให้ไปเข้าทางด้านข้างแทนได้

ในงานแม่พิมพ์พลาสติกบทบาทของทางวิ่ง เป็นส่วนที่ต่อจากแกนฉีดก่อนที่พลาสติกจะไหลเข้าสู่คาวิตี้ เป็นเส้นทางควบคุมการไหลของพลาสติกให้เข้าสู่คาวิตี้ ให้มีคุณสมบัติที่เหมือนกัน และมีความดันที่เท่ากันในเวลาเดียวกัน Read More

แม่พิมพ์เป่าพลาสติกมีกี่แบบ

พลาสติกถือว่าได้เข้ามามีส่วนในชีวิตประจำวันของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เมื่อเราเดินเข้าร้านสะดวกซื้อ ภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องดื่มทั้งหลายกว่า70%เป็นภาชนะที่ทำมาจากพลาสติก บางขวดมีสีสรรสวยงาม บางขวดดูทึบๆขุ่นๆ บางขวดดูใสเหมือนกระจก หากท่านมองเผินๆอาจไม่เห็นความแตกต่างแต่ในความเป็นจริง ขวดแต่ละแบบมีกรรมวิธีในการผลิตแตกต่างกัน จึงมีการแบ่งชนิดของขวดแต่ละแบบไว้โดยอ้างอิงจากวิธีการขึ้นรูปเป็นหลัก ซึ่งในประเทศไทยที่นิยมใช้กันจะมีอยู่ 3 ประเภท

1.Extrusion Blow การเป่ายืด

สำหรับงานเป่าพลาสติกประเภทนี้ถ้าศัพท์ทางช่างจะเรียกงานเป่าพลาสติกแบบนี้ว่า งานเป่าลูกโป่ง เนื่องจากที่แม่พิมพ์เป่าพลาสติกจะต้องมีช่องว่างเพื่อเป็นห้องอากาศและเพื่อให้พลาสติกขยายตัว การทำงานคือที่ตัวเครื่องเป่าพลาสติก จะปล่อยพลาสติกหลอมเหลว  ( parison ) ไหลเป็นท่อลงมาตลอดเวลา อัตราการไหลจะถูกกำหนดโดยการฟีดของสกรูภายในกระบอกเครื่องเป่าพลาสติก เมื่อท่อพลาสติกหลอมเหลวไหลลงมาได้ตามตำแหน่งที่ตั้งไว้ แม่พิมพ์เป่าพลาสติกจะเลื่อนเข้าไปหาท่อพลาสติกหลอมเหลวและปิด เมื่อแม่พิมพ์ปิดเรียบร้อยแล้วจะมีท่ออัดลมสวนเข้าไปในแม่พิมพ์เพื่อทำการเป่าขึ้นรูปพลาสติก

แม่พิมพ์เป่าพลาสติกแบบextrusion blow

แม่พิมพ์เป่าพลาสติกแบบextrusion blow

สำหรับงานเป่าประเภทนี้จะนิยมใช้กันมาก เนื่องจากแม่พิมพ์จะมีราคาไม่แพง,ทำงานได้เร็ว,เป่าพลาสติกได้หลากหลายประเภท แต่ก็มีข้อเสียคือ จะคุมขนาดได้ไม่ดีนัก,ผิวของชิ้นงานจะไม่สวย(เมื่อเทียบกับการเป่าประเภทอื่น)

Read More

ความหมายของสัญลักษณ์รีไซเคิล

สัญลักษณ์รีไซเคิล

สัญลักษณ์รีไซเคิล

ความหมายของสัญลักษณ์รีไซเคิล

1.เป็นสัญลักษณ์สำหรับพลาสติกชนิดโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) หรือที่เราเรียกกันว่าขวดเพชร เนื่องจากความใส มีความยืดหยุ่นสูงและป้องกันการซึมผ่านของก๊าซได้ดี จึงเอาไปทำขวดน้ำอัดลม

2. HDPE ไฮเดนซิตี้โพลีเอทีลีน ใช้ทำถุงหิ้ว ขวดน้ำดื่ม หรือถังน้ำ เพราะว่ามีความยืดหยุ่นสูง ราคาถูก ทน

3.PVC โพลิไวนิลคลอไรด์ ทำท่อน้ำ ฉนวนหุ้มสายไฟฟ้า กระเป๋าหนังเทียม ประตูพีวีซี ทนสารเคมี และทนน้ำได้ดี ไม่เหมาะที่จะใช้กับอาหาร (แต่ไม่เข้าใจทำไมเอาไปทำท่อน้ำ) Read More