Archives for เทอร์โมพลาสติก

อุณหภูมิในการฉีดพลาสติก(Processing Temperature)

การฉีดพลาสติก

เม็ดพลาสติกเมื่อเข้าสู่กระบวนการฉีดพลาสติกจะผ่านการให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่เม็ดพลาสติกจะหลอมเหลว ซึ่งเม็ดพลาสติกแต่ละชนิดจะใช้อุณหภูมิแตกต่างกันไป อุณหภูมิของน้ำพลาสติกและแม่พิมพ์พลาสติกที่ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 จะใช้กับเทอร์โมพลาสติกเกรดสำหรับฉีดทุกชนิด (ยกเว้นชิ้นงานพิเศษ) โดยทั่วไป อุณหภูมิสำหรับเกรดพลาสติกที่ไหลได้ง่าย จะอยู่ในช่วงที่เป็นค่าต่ำ และพลาสติกเกรดที่ไหลได้ยาก จะใช้อุณหภูมิในช่วงที่เป็นค่าสูง พลาสติกที่อยู่ในกระบอกหลอมเหลวเป็นเวลานาน อันเนื่องจากรอบการฉีดนานเกินไป หรือปริมาตรในการฉีดแต่ละครั้งน้อยกว่าที่หลอมได้นั้น จะต้องลกอุณหภูมิน้ำพลาสติกลง เพื่อป้องกันการเสื่อมของพลาสติกเนื่องจากความร้อน

ตารางที่ 1 แสดงอุณหภูมิของแม่พิมพ์พลาสติกและอุณหภูมิหลอมเหลวของเม็ดพลาสติกแต่ละประเภท

Thermoplastic Mould Temperature ( oC ) Melt Temperture (oC )
ABS 60-80 220 – 260
ABS+PC 70-100 240 – 280
PA6 70-90 240 – 270
PA66 70-90 260 – 290
PA6+30%GF 80-120 260 – 280
PA66+30%GF 80-120 270 – 300
PAR 80-120 320 – 360
PBTB 80-100 250 – 260
PBTB 80-100 250 – 270
PBT+30%GF 80-100 250 – 270
PC 80-100 280 – 320
PC+35-45%GF 80-130 310 – 330
PET 130-140 260 – 280
PPS 140-170 320 – 360

เวลาในการหล่อเย็น

เวลาในการหล่อเย็น ( Cooling Time)

การหล่อเย็นเริ่มต้นเมื่อฉีดพลาสติกเต็มแม่พิมพ์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลา ti ความร้อนส่วนใหญ่จะถ่ายเทออกไปในช่วงเวลาหล่อเย็น tc คือเวลาหลังจากการฉีด จนถึงการปิดแม่พิมพ์และปลดชิ้นงาน การออกแบบระบบหล่อเย็น จะขึ้นอยู่กับส่วนของชิ้นงานที่ต้องหล่อเย็นเป็นเวลานานที่สุด ให้เย็นลงจนถึงอุณหภูมิปลดชิ้นงาน TE

เทอร์โมพลาสติกกับอัตราการหล่อเย็น

เทอร์โมพลาสติกกับอัตราการหล่อเย็น

การแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างพลาสติกและสารหล่อเย็น เกิดขึ้นโดยการนำความร้อนในแม่พิมพ์  การนำความร้อนสามารถอธิบายได้ด้วย Fourier’s differential equation โดยใช้การคำนวณแบบ 1มิติก็พอ เพราะชิ้นงานฉีดพลาสติกมักจะใช้การแก้ปัญหาใน2มิติและถ่ายเทความร้อนออกในหนึ่งทิศทาง

ในกรณีของการถ่ายเทความร้อนแบบหนึ่งมิติ Fourier’s differential equation สามารถลดรูปได้เป็น

eq1

สัญลักษณ์ในสมการต่างๆเป็นดังนี้ Read More