Archives for แม่พิมพ์พลาสติก

แม่พิมพ์พลาสติกแบบแยกที่ขับด้วย Angular Cam

แม่พิมพ์พลาสติกที่ขับด้วย Angular Cam



รูปแบบของชิ้นงานพลาสติกที่มี Undercut จะไม่สามารถปลดออกจากแม่พิมพ์ด้วยวิธีการกระทุ้งตามปกติได้ แม่พิมพ์พลาสติกที่ทำการขึ้นรูปต้องออกแบบให้เป็นแม่พิมพ์แบบสไลด์ ซึ่งระบบขับเคลื่อนกลไกเพื่อขับเลื่อนชุดสไลด์นี้ สามารถออกแบบได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบแม่พิมพ์และข้อจำกัดเรื่องรูปร่างของชิ้นงาน

แม่พิมพ์พลาสติกแบบใช้ Angular Cam

แม่พิมพ์พลาสติกแบบใช้ Angular Cam

Credit ภาพ

แม่พิมพ์พลาสติกที่ขับด้วย Angular Cam นี้ จะทำงานโดยใช้การเคลื่อนที่เข้าออกของเครื่องฉีดพลาสติก ในจังหวะที่แม่พิมพ์ปิดเพื่อฉีดงาน ชุด Angular Cam จะดันชุดสไลด์ทั้ง2ฝั่งให้เลื่อนเข้าหากัน เมื่อเครื่องฉีดพลาสติกดันน้ำพลาสติกเข้าสู่โพรงแบบจนเต็มแล้ว ในจังหวะที่แม่พิมพ์เปิดเพื่อปลดชิ้นงาน แกน Angular Cam ที่เป็นช่วงแกนตรง จะยังไม่ไปเตะชุดสไลด์ ในจังหวะนี้ชิ้นงานด้านที่ติดฝั่งคาวิตี้จะถูกปลดออก เมื่อชุด Angular Cam เลื่อนไปจนกระทั่งปลาย Cam เตะ ชุดสไลด์จะถูกเปิดออกทำให้ Read More

แม่พิมพ์พลาสติกใช้ระบบลมดันปลดชิ้นงาน Air ejector

แม่พิมพ์พลาสติกใช้ระบบลมดันปลดชิ้นงาน



แม่พิมพ์พลาสติกโดยมาก ผู้ออกแบบแม่พิมพ์มักออกแบบให้ใช้เข็มกระทุ้งเป็นตัวดันปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ เพราะจะสะดวกในการออกแบบและซ่อมแซม อีกทั้งง่ายต่อการผลิตเนื่องจากที่เครื่องฉีดจะมีระบบกระทุ้งติดตั้งมาให้อยู่แล้ว ทำให้ผู้ผลิตแม่พิมพ์ส่วนใหญ่มักเรื่องใช้วิธีนี้

แม่พิมพ์พลาสติก แบบใช้ลมปลดชิ้นงาน

แม่พิมพ์พลาสติก แบบใช้ลมปลดชิ้นงาน

แต่ในชิ้นงานพลาสติกบางประเภทมีข้อจำกัดในเรื่องความแข็งแรงของวัสดุเข้ามาเกี่ยวข้อง ชิ้นงานพลาสติกประเภทที่เล็กจนไม่สามารถวางตำแหน่งเข็มกระทุ้งได้ หรือบางกรณีชิ้นงานมีความบางมากๆ เช่น ชาม,ถ้วย,แก้วน้ำ (Disposable) หากใช้เข็มกระทุ้งในการดันปลด Read More

Ejector Pin Sub-Gates

Ejector Pin Sub-Gates

ทางเข้าน้ำพลาสติกแบบมุดเข็มกระทุ้ง



แม่พิมพ์พลาสติกโดยส่วนใหญ่ ผู้ออกแบบแม่พิมพ์มักจะกำหนดทางเข้าน้ำพลาสติกให้อยู่กึ่งกลางของแม่พิมพ์ เพื่อให้ง่ายต่อการออกแบบเพื่อผลิตแม่พิมพ์และการฉีดพลาสติก แต่ในชิ้นงานพลาสติกบางชนิด นอกจากขนาดที่ถูกต้องแล้วเรื่องของผิวสัมผัสและความสวยงามของชิ้นงาน ก็เป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

Ejector Pin Gate

Ejector Pin Gate

เพื่อหลีกเลี่ยงตำหนิที่เกิดจากช่องทางเข้าของน้ำพลาสติก ผู้ออกแบบแม่พิมพ์มักเลือกใช้วิธี Read More

การควบคุมความชื้นของเม็ดพลาสติก

การควบคุมความชื้นของเทอร์โมพลาสติก

(คุณสมบัติ Hydroscopic ของเทอร์โมพลาสติก)



คุณสมบัติที่สำคัญของเทอร์โมพลาสติกคือ ปราศจากความชื้นและสารทำละลายอื่นที่มีจุดเดือดต่ำ ความชื้นปริมาณเล็กน้อย สามารถกลายเป็นไอน้ำได้ ซึ่งจะมีโอกาสติดอยู่ภายในชิ้นงาน ในระหว่างขั้นตอนการฉีดพลาสติก

เปอร์เซ็นต์ความชื้นเทอร์โมพลาสติก

เปอร์เซ็นต์ความชื้นเทอร์โมพลาสติก

ไอน้ำนี้จะขยายตัว เมื่อแรงดันของน้ำพลาสติกลดลงในขั้นตอนสุดท้ายของการฉีดพลาสติก ซึ่งนำไปสู่การเกิดโพรงในเนื้อชิ้นงาน บางครั้งโพรงดังกล่าวจะแบน เนื่องจากการเฉือนระหว่างที่น้ำพลาสติกไหล ทำให้เกิดรอยเงาที่ผิวพลาสติกที่เรียกว่า Mica mark ความชื้นที่ถูกดูดซับเข้าไปในเนื้อพลาสติก ทำให้ต้องใช้เวลานานในการอบเม็ดพลาสติกให้แห้ง โดยทั่วไปเมื่อใช้อุณหภูมิในการฉีดสูงขึ้น ปริมาณความชื้นที่ยอมให้มีในเม็ดพลาสติกก็ต้องลดลงด้วย ทั้งนี้เพราะ Read More

การอั้นอากาศในโมลพลาสติก

การอั้นอากาศในโมลพลาสติก



ขั้นตอนการฉีดพลาสติก เครื่องฉีดพลาสติกจะสร้างแรงดันให้น้ำพลาสติกหลอมเหลวไหลเข้าสู่แม่พิมพ์ ซึ่งจะเข้าไปแทนที่อากาศภายในคาวิตี้ หากอากาศภายในแม่พิมพ์นี้ ไม่สามารถเล็ดลอดออกไปได้ ก็จะขัดขวางการไหลของน้ำพลาสติก ซึ่งจะทำให้อากาศภายในร้อนขึ้นเนื่องจากการอัดตัว เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยไหม้ที่ผิวชิ้นงานพลาสติก ทำให้ชิ้นงานเสียหาย

ปัญหาการอั้นอากาศในแม่พิมพ์ฉีด

ภาพที่ 1 แสดงปัญหาการอั้นอากาศในแม่พิมพ์ฉีด

โดยปกติ แม่พิมพ์พลาสติก ไม่จำเป็นต้องออกแบบร่องระบายอากาศ Read More

การใช้ 3D Printer สร้างต้นแบบแม่พิมพ์พลาสติก

How to Make Injection Mould with 3D Printer



ขั้นตอนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก ต้องอาศัยเครื่องจักรหลากหลายชนิด เพื่อขึ้นรูปโลหะให้ตรงตามแบบทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกมีราคาสูง และ เมื่อได้ทำการตัดเฉือนโลหะไปแล้วหากมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขแบบชิ้นงาน อาจต้องทำการขึ้นรูปใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากและค่าใช้จ่ายจะสูงมาก

ในปัจจุจบันได้มีการนำเครื่อง 3D Printer มาใช้ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกสำหรับชิ้นงานต้นแบบ ซึ่งลดเวลาในการผลิตแม่พิมพ์ลงได้เป็นอย่างดี ทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกลดลง

การใช้ 3D Printer ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่1 แสดงรูปแบบชิ้นงานและการวางตำแหน่งแม่พิมพ์

เริ่มต้นจากการออกแบบชิ้นงานและ insert ของแม่พิมพ์พลาสติก จากนั้นจึงทำโปรแกรมสั่ง 3D Printer เพื่อยิงชิ้นงาน insert แม่พิมพ์ต้นแบบขึ้นมา Read More

เหล็กสำหรับแม่พิมพ์พลาสติก

ตารางเหล็กสำหรับงานแม่พิมพ์พลาสติก

ตารางเหล็กสำหรับงานแม่พิมพ์พลาสติก

ในงานสร้างแม่พิมพ์พลาสติกผู้ออกแบบสามารถเลือกใช้วัสดุที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อจัดสร้างแม่พิมพ์ขึ้นมา วัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์มีอยู่ด้วยกันมากมายหลายชนิด ทั้งที่เป็นเหล็ก และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก  เช่น เหล็กกล้าคาร์บอน เหล็กกล้าผสมเหล็กกล้าไร้สนิม เหล็กหล่อ และอลูมินั่มอัลลอย การเลือกใช้วัสดุให้ถูกต้องกับการสร้างแม่พิมพ์แต่ละประเภท ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิ่ง แม่พิมพ์จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานหรือไม่นั้น คุณภาพของวัสดุที่นำมาใช้เป็นสิ่งสำคัญมาก Read More

การวางหลุมแม่พิมพ์พลาสติก

ทางวิ่งพลาสติก

ทางวิ่งพลาสติก

การจัดวางคาวิตี้ Cavity Layout

ผู้ออกแบบแม่พิมพ์พลาสติกมักจะออกแบบให้รูฉีดพลาสติก อยู่กึ่งกลางของแม่พิมพ์ แต่ในบางกรณีด้วยลักษณะของชิ้นงาน ทำให้ไม่สามารถวางตำแหน่งรูฉีดให้อยู่ตรงกลางแม่พิมพ์ได้ จึงต้องทำการเยื้องรูฉีดพลาสติกออกไปซึ่งจะต้องมีเทคนิคในการเยื้องตำแหน่งรูหัวฉีด แต่ admin ขอยกไว้เขียนในบทความต่อไป ในบทความนี้จะขอพูดถึงเรื่องตำแหน่งการวางคาวิตี้ก่อน จุดประสงค์ที่ผู้ออกแบบแม่พิมพ์ใช้ในการพิจารณา คือ

– น้ำพลาสติกต้องไหลเข้าเต็มโพรงแบบพร้อมๆกันด้วยอุณหภูมิเท่ากัน

-ระยะห่างของโพรงแบบต้องมากพอสำหรับการวางท่อน้ำหล่อเย็น และทนจากแรงดันเครื่องฉีดพลาสติกได้

-ผลลัทธ์ของแรงกระทำควรอยู่ที่จุดศูนย์ถ่วงของแม่พิมพ์

ในการวางตำแหน่งของโพรงแบบและรูหัวฉีดนั้น เพื่อให้เกิดสมดุลของแรงในแม่พิมพ์ หากแม่พิมพ์และชุดประกบของเครื่องฉีดไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องจะรับแรงไม่สม่ำเสมอ ถ้าโพรงแบบอยู่เยื้องศูนย์รูหัวฉีด แม่พิมพ์จะถูกแรงดันให้อ้าออกได้ ผลที่ตามมาคือชิ้นงานจะเกิดครีบ และจะเกิดความเสียหายที่ tie bar ของเครื่องฉีดพลาสติก Read More

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกแบบ3plate

runnerแม่พิมพ์พลาสติก,ทางเข้าน้ำพลาสติก

ภาพที่ 1 แสดงrunnerแม่พิมพ์พลาสติก,ทางเข้าน้ำพลาสติก

จากบทความเรื่องของ แม่พิมพ์พลาสติก ที่เคยนำเสนอไปหลายวันก่อน วันนี้ admin จะมาเพิ่มเติม เรื่องของทางเข้าพลาสติกอีกแบบที่ผู้ออกแบบแม่พิมพ์จะนิยมใช้กันมาก ช่างทำแม่พิมพ์พลาสติกส่วนใหญ่จะเรียกระบบนี้ว่า แม่พิมพ์แบบ3plate หรือ แม่พิมพ์แบบเข็ม สำหรับระบบนี้จะแตกต่างจาก 2plate คือ จะต้องมีแผ่นแม่พิมพ์เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งแผ่นเพื่อเป็นทางวิ่งของน้ำพลาสติกหลอมเหลว ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่เป็นระบบปลดทางวิ่งของน้ำพลาสติกด้วย เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการฉีดในหนึ่งรอบการฉีด

แม่พิมพ์พลาสติกแบบ3plate,Pin-Point Gate

ภาพที่ 2 แสดงแม่พิมพ์พลาสติกแบบ3plate,Pin-Point Gate

ขออธิบายลักษณะการทำงานของแม่พิมพ์ชนิดนี้ คือจากภาพที่ 1ส่วนบนสุดคือแกนหัวฉีด (sprue) จะทำหน้าที่รับน้ำพลาสติหลอมเหลวจากเครื่องฉีดพลาสติกเข้าสู่แม่พิมพ์ เมื่อน้ำพลาสติกไหลผ่านตัว sprue จะเข้าสู่ main runner ซึ่งจะเป็นทางวิ่งที่ผู้ออกแบบได้กำหนดไว้แล้ว Read More

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกแบบต่างๆ

ถ้าแบ่งประเภทของแม่พิมพ์ฉีดพลาสติกตามลักษณะการทำงานของแม่พิมพ์ เราสามารถแบ่งออกได้หลากหลายประเภท วันนี้ admin จะเขียนบทความของ แม่พิมพ์แบบทั่วๆไป (2Plate) การทำงานจะดูได้จากภาพนี้

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก,2 plate mold

แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก,2 plate mold

จากภาพด้านบนบริเวณที่เป็นสีเทาคือ แม่พิมพ์ฉีดพลาสติก ตัวเม็ดพลาสติก(สีม่วง)จะถูกป้อนลงมาสู่กระบอกสูบของเครื่องฉีด เม็ดพลาสติกจะถูกป้ิอนให้เคลื่อนไปข้างหน้าด้วยสกรู(สีเขียว) ตัวกระบอกสูบของเครื่องฉีดพลาสติก จะถูกออกแบบมาอย่างดีเพื่อให้พลาสติกหลอมเหลวได้อย่างสมบูรณ์ เมื่อเม็ดพลาสติกเลื่อนมาจนถึงด้านปลายของสกรู(ซ้ายมือภาพ) พลาสติกจะถูกหลอมเหลวจนกลายสภาพเป็นของเหลว ในเวลาเดียวกันสกรูจะถอยกลับเืพื่อให้ภายในกระบอกมีปริมาตรพลาสติกเพียงพอที่จะเติมเต็มช่องว่างภายในแม่พิมพ์พลาสติก Read More