Archives for แม่พิมพ์ราคาถูก

หลักการออกแบบชิ้นงานพลาสติก eyelets,boss and rib design

ผู้ออกแบบชิ้นส่วนพลาสติก ควรต้องมีความเข้าใจ ถึงข้อจำกัดในกระบวนการผลิต แม่พิมพ์พลาสติก ด้วย เพื่อให้ชิ้นงานพลาสติกที่ออกแบบมาสามารถใช้งานได้จริง ในบทความนี้ ทาง admin จะนำเสนอในส่วนของการออกแบบจุดยึด เพื่อใช้ในการจึบยึดชิ้นงานพลาสติกเข้าด้วยกัน และเป็นตัวช่วยเสริมความแข็งแรง

จุดสะสมของน้ำพลาสติก (Melt Accumulation) เป็นสาเหตุของการเกิดรอยยุบ (Sink mark) เนื่องจากอัตราการหดตัวที่มากกว่า เกิดความเค้นภายใน และบางครั้งจะเกิดการบิดงอ ดังนั้นจึงควรระวังเป็นพิเศษ ในการออกแบบชิ้นงาน ฉีดพลาสติก โดยเฉพาะส่วนต่างๆเหล่านี้ เช่น หูหรือห่วง (lug) ลูกเบี้ยว (cam) รู (boss) จะใช้หลักการเดียวกัน ดังตัวอย่างการออกแบบดังภาพที่ 1

หลักการออกแบบชิ้นงานพลาสติก หู (lug) และรู (boss) ที่ใช้ในการจับยึด
ภาพที่ 1 หลักการออกแบบชิ้นงานพลาสติก หู (lug) และรู (boss) ที่ใช้ในการจับยึด
a.ส่วนมุมของชิ้นงาน (แบบที่ไม่ถูกต้อง)
b. ส่วนมุมของชิ้นงาน (แบบที่ถูกต้อง)
c.ผนังข้าง (แบบที่ไม่ถูกต้อง)
d.ผนังข้าง (แบบที่ถูกต้อง)
e.ผิวชิ้นงาน (แบบที่ไม่ถูกต้อง)
f.ผิวชิ้นงาน (แบบที่ถูกต้อง)

ชิ้นงานฉีดพลาสติก มักจะมีโครงเพื่อเพิ่มความแข็งแรง บางครั้งก็มีโครงเพื่อผลประโยชน์สำหรับการใช้งาน ในการออกแบบโครง บางครั้งจะมีข้อกำหนดที่ขัดแย้งกัน ระหว่างการผลิตกับการใช้งาน ทำให้ต้องหาจุดที่จะนำมาทำงานร่วมกันได้อย่างเหมาะสม

Read More

Slide Block Locking

โมล์ดฉีดพลาสติก แบบที่มี slide core ผู้ออกแบบแม่พิมพ์สามารถออกแบบได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะชิ้นงาน,ขนาด และข้อจำกัดในเรื่องของต้นทุนที่ใช้สร้างแม่พิมพ์ ซึ่งในแต่ละรูปแบบก็มีข้อดี,ข้อเสียแตกต่างกันไป ในบทความนี้จะยกตัวอย่างวิธีการออกแบบที่นิยมใช้กันอยู่ 4 แบบ

รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก
รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่ 1 โมล์ดพลาสติก แบบนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่แรงดันไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีความแข็งแรงต่ำ มีโอกาสที่สลักเกลียวที่ใช้ยึดจะยืดออก ส่งผลให้ในจังหวะฉีด slide จะถอยกลับได้ ซึ่งจะทำให้ชิ้นงานพลาสติกเกิดครีบแลบได้

ภาพที่ 2 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะคล้ายคลึงกับภาพที่ 1 แต่ความยาวสลักเกลียวน้อยกว่าจะมีความแข็งแรงมากกว่า ในบางครั้งจะให้ความร้อนแก่สลักเกลียวในการประกอบด้วย

รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก
รูปแบบชุดล็อค slide แม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่ 3 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะทำการขุดเป็น sub insert ในชุดแม่พิมพ์อีกที แบบนี้จะดีกว่า 2 แบบแรก

ภาพที่4 โมล์ดพลาสติก แบบนี้จะทีความแข็งแรงมากที่สุด โดยทำมาจากวัสดุก้อนเดียวกันเลย แต่จะทำให้สิ้นเปลืองวัสดุและเวลาในการตัดเฉือนมากกว่า ซึ่งทำให้ต้นทุนของแม่พิมพ์สูงขึ้นตามไปด้วย

การใช้ 3D Printer สร้างต้นแบบแม่พิมพ์พลาสติก

How to Make Injection Mould with 3D Printer



ขั้นตอนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก ต้องอาศัยเครื่องจักรหลากหลายชนิด เพื่อขึ้นรูปโลหะให้ตรงตามแบบทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกมีราคาสูง และ เมื่อได้ทำการตัดเฉือนโลหะไปแล้วหากมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขแบบชิ้นงาน อาจต้องทำการขึ้นรูปใหม่ทั้งหมด ซึ่งเป็นเรื่องยุ่งยากและค่าใช้จ่ายจะสูงมาก

ในปัจจุจบันได้มีการนำเครื่อง 3D Printer มาใช้ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกสำหรับชิ้นงานต้นแบบ ซึ่งลดเวลาในการผลิตแม่พิมพ์ลงได้เป็นอย่างดี ทำให้ต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติกลดลง

การใช้ 3D Printer ช่วยในการผลิตแม่พิมพ์พลาสติก

ภาพที่1 แสดงรูปแบบชิ้นงานและการวางตำแหน่งแม่พิมพ์

เริ่มต้นจากการออกแบบชิ้นงานและ insert ของแม่พิมพ์พลาสติก จากนั้นจึงทำโปรแกรมสั่ง 3D Printer เพื่อยิงชิ้นงาน insert แม่พิมพ์ต้นแบบขึ้นมา Read More

แม่พิมพ์ที่ฝั่งตัวผู้สามารถยุบได้ Collapsible Core

แม่พิมพ์ที่ฝั่งตัวผู้สามารถยุบได้ Collapsible Core



แม่พิมพ์แบบนี้โดยมากจะใช้กับชิ้นงานขนาดเล็ก ในกรณีที่ชิ้นงานมีเกลียวด้านใน เราสามารถออกแบบให้คอร์เป็นแกนเหล็กหุ้มปลายด้วยยางซิลิกอน ซึ่งทำเป็นเกลียวนอก ถ้าแม่พิมพ์ปิดยางจะถูกอัดเข้าไปในคาวิตี้ ทั้งสองส่วนจะประกอบกันจนได้รูปคอร์ที่มีเกลียวถูกต้อง เมื่อแม่พิมพ์เปิดแกนเหล็กจะเลื่อนถอยกลับ ยางซิลิกอนยุบตัวลงทำให้ปลดชิ้นงานออกจากคอร์ได้ แม่พิมพ์แบบนี้จะมีราคาถูกกว่าแบบที่มีอุปกรณ์คลายเกลียว ยางซิลิกอนมีอายุการใช้งานไม่นานนัก แต่มีราคาไม่แพง และถอดเปลี่ยนได้ง่าย อย่างไรก็ตาม คอร์แบบนี้จะเกิดปัญหาในการหล่อเย็นและต้องใช้รอบการฉีดที่นานกว่า อีกทั้งยังมีข้อจำกัดในการใช้ คือไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดรอยที่ชิ้นงานหากใช้คอร์ที่ยุบตัว และไม่เหมาะกับชิ้นงานที่ต้องการความแม่นยำิเช่นเฟืองตัวหนอน

คอร์แบบยุบตัวได้

คอร์แบบยุบตัวได้

ตัวยางซิลิกอนเมื่อใช้งานไปสักระยะจะเกิดการสึกหรอ ยางจะเสียรูปจนใช้งานไม่ได้ จึงไม่เหมาะที่จะใช้ในงานที่ควบคุมขนาด แต่สำหรับการฉีดชิ้นงานจำนวนน้อย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ