วิธีการคำนวณแรงปลดชิ้นงาน
สำหรับชิ้นงานรูปปลอกและกล่อง ซึ่งหดตัวรัดคอร์ไว้ แรงปลดชิ้นงานหาได้จากความเค้นปกติที่มีอยู่ในเวลาปลดชิ้นงาน และสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
FR =f ×PA × AC
เมื่อ
f = สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
PA = แรงดันผิวสัมผัสระหว่างชิ้นงานกับคอร์
AC = พื้นที่ผิวของคอร์
ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานจะขึ้นอยู่กับชนิดของพลาสติกกับโลหะที่สัมผัสกันอยู่ และตัวแปรในการฉีดพลาสติก การสัมผัสกันระหว่างชั้นผิวพลาสติกที่กลายเป็นของแข็งกับผิวแม่พิมพ์ ในขณะปลดชิ้นงาน จะมีผลต่อสัมประสิทธิ์ความเสียดทานด้วย ชิ้นส่วนแม่พิมพ์ซึ่งทำโดยการ EDM และขัดเงาจะมีค่าสัมประสิทธิ์ต่ำกว่าผิวงานที่หยาบ
ตามที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในตอนต้น ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน จะขึ้นอยู่กับความหยาบของผิว ซึ่งจะได้แสดงค่าไว้ในตารางด้านล่างนี้
พลาสติก |
สัมประสิทธิ์ความเสียดทานสำหรับความหยาบผิวต่างๆ |
||
1µm |
6µm |
20µm |
|
PE |
0.38 |
0.52 |
0.70 |
PP |
0.47 |
0.50 |
0.84 |
PS |
0.37 |
0.52 |
1.82 |
ABS |
0.35 |
0.46 |
1.33 |
PC |
0.47 |
0.68 |
1.60 |
นอกจากค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่ได้ เรายังต้องหาแรงดันที่ผิวสัมผัสระหว่างชิ้นงานและคอร์ ซึ่งสามารถคำนวณได้แต่จะขอกล่าวถึงในบทความต่อๆไปนะครับ